บ้านปากบุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ณ หมู่บ้านแห่งนี้ มีวิถีชีวิตที่คล้ายกับชุมชนริมแม่น้ำมูลอื่นๆ ได้แก่ การเลี้ยงปลาในกระชังแม่น้ำมูล การจับปลาในแม่น้ำมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย อาทิ จับปลาด้วยมองดักปลา (มอง เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง) ไซดักปลา ยอยกปลา และการเลี้ยงปลาในกระชัง นั่งเฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า ไม่พบการหว่านแหเลย (หว่านแห เป็นภาษาอีสาน หมายถึง การทอดแห)
สิ่งที่สัมผัสได้ถึงความแตกต่างของที่นี่เมื่อเทียบกับหมู่บ้าน หรือชุมชนอื่นที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ คือ ที่นี่สัญจรทางน้ำด้วยเรือ เรียกได้ว่า ขนทั้งคน ทั้งรถ และอีกสารพัดสัมภาระเลยก็ว่าได้ที่จะต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการข้ามฟากทุกครั้งไป เพราะว่าลำน้ำมูลแห่งนี้ไม่มีสะพานนั่นเอง
บ้านปากบุ่ง อยู่ใกล้กับเกาะกลางน้ำ ถึง 4 เกาะ แต่เกาะที่ประทับใจที่สุดนั้น คือ เกาะกลางที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่ก่อกำเนิดเกจิดัง หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล ปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน จึงไม่น่าแปลกที่ได้พบเห็นพระสงฆ์ และญาติโยมจากทั่วสารทิศสัญจรแวะมาเยี่ยมเยือน ณ วัดดอนธาตุ แห่งนี้อย่างไม่ขาดสายในแต่ละวัน
สำหรับที่มาของคำว่า ปากบุ่งนั้น สอบถามชาวบ้านแล้วได้ใจความตามนิยามของสำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน ดังนี้... คำว่า " บุ่ง" หมายถึง บริเวณที่เป็นแอ่งน้ำ แต่ไม่ลึกอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และลำห้วยสาขาใหญ่น้อย ลักษณะเหมือนกับหนอง มีน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก ในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง พบพรรณพืชขึ้นหนาแน่น มีปลา อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ และวางไข่.... ซึ่งบ้านเรือนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณใกล้กับปากทางเข้าบุ่งติดริมแม่น้ำมูล และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน " ปากบุ่ง " นั่นเอง
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. วัดดอนธาตุ ต.ทรายมูล อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
2. ผลการค้นหา คำค้น " แม่น้ำมูล "
3. ผลการค้นหา คำค้น " สิรินธร "
4. ผลการค้นหา คำค้น " อุบลราชธานี "
ณ หมู่บ้านแห่งนี้ มีวิถีชีวิตที่คล้ายกับชุมชนริมแม่น้ำมูลอื่นๆ ได้แก่ การเลี้ยงปลาในกระชังแม่น้ำมูล การจับปลาในแม่น้ำมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย อาทิ จับปลาด้วยมองดักปลา (มอง เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง) ไซดักปลา ยอยกปลา และการเลี้ยงปลาในกระชัง นั่งเฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า ไม่พบการหว่านแหเลย (หว่านแห เป็นภาษาอีสาน หมายถึง การทอดแห)
สิ่งที่สัมผัสได้ถึงความแตกต่างของที่นี่เมื่อเทียบกับหมู่บ้าน หรือชุมชนอื่นที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ คือ ที่นี่สัญจรทางน้ำด้วยเรือ เรียกได้ว่า ขนทั้งคน ทั้งรถ และอีกสารพัดสัมภาระเลยก็ว่าได้ที่จะต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการข้ามฟากทุกครั้งไป เพราะว่าลำน้ำมูลแห่งนี้ไม่มีสะพานนั่นเอง
บ้านปากบุ่ง อยู่ใกล้กับเกาะกลางน้ำ ถึง 4 เกาะ แต่เกาะที่ประทับใจที่สุดนั้น คือ เกาะกลางที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่ก่อกำเนิดเกจิดัง หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล ปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน จึงไม่น่าแปลกที่ได้พบเห็นพระสงฆ์ และญาติโยมจากทั่วสารทิศสัญจรแวะมาเยี่ยมเยือน ณ วัดดอนธาตุ แห่งนี้อย่างไม่ขาดสายในแต่ละวัน
สำหรับที่มาของคำว่า ปากบุ่งนั้น สอบถามชาวบ้านแล้วได้ใจความตามนิยามของสำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน ดังนี้... คำว่า " บุ่ง" หมายถึง บริเวณที่เป็นแอ่งน้ำ แต่ไม่ลึกอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และลำห้วยสาขาใหญ่น้อย ลักษณะเหมือนกับหนอง มีน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก ในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง พบพรรณพืชขึ้นหนาแน่น มีปลา อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ และวางไข่.... ซึ่งบ้านเรือนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณใกล้กับปากทางเข้าบุ่งติดริมแม่น้ำมูล และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน " ปากบุ่ง " นั่นเอง
ภาพบน และล่าง : วัดบุ่งแก้ววงศ์ประดิษฐ์ บ้านปากบุ่ง
ภาพบน และล่าง : ปลาบึก ปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ดู บ้านปากบุ่ง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. วัดดอนธาตุ ต.ทรายมูล อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
2. ผลการค้นหา คำค้น " แม่น้ำมูล "
3. ผลการค้นหา คำค้น " สิรินธร "
4. ผลการค้นหา คำค้น " อุบลราชธานี "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น