วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รวมภาพสัตว์ต่างๆ ในแถบอีสาน - ISAN Animal




แตน (อังกฤษ: Hymenoptera) จัดเป็นแมลงจำพวกผึ้ง เพราะว่ามีเหล็กในและการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แตนเป็นแมลงเอวคอด ปีกบางสองคู่ แตนมีหลายชนิดสร้างรังรูปแบบแปลกๆ สวยงาม แตนบัว หรือแตนฝักบัวสร้างรังคล้ายกับฝักบัวคว่ำ รังนี้ยึดติดแน่นกับกิ่งไม้ ด้านล่างของรังที่หันลงดินแบ่งเป็นช่องสำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นทางเข้าออก แตนสร้างรังโดยการเคี้ยวไม้เก่าๆ ผสมกับน้ำลายซึ่งจะแปรสภาพเป็นเยื่อไม้แล้วเอาไปเรียงต่อกันเป็นห้องจนกลายเป็นรัง


ภายหลังผสมพันธุ์เสร็จ เมื่อแม่แตนสร้างรังหรือห้องได้บ้างแล้ว มันจะไปหาอาหารมาทิ้งไว้ให้ลูกอ่อนกิน อาหารตัวอ่อนชอบกิน คือตัวหนอนผีเสื้อ ซึ่งแม่แตนจะต่อยให้สลบแล้วนำมาใส่ไว้ในช่องที่เตรียมไว้เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ก็จะมีอาหารกิน แมลงจำพวกเดียวกันกับแตนมีหลายชนิด เช่น ต่อ ต่อหมาร่า รูปร่างคล้ายกัน แต่สีแตกต่างกันไป สีเหลือง ดำสลับเหลือง รังอาจเป็นรูปกลมรี รูปกระปุกหรือแบบลูกฟูก แตนบางชนิดทำรังด้วยดิน เช่น หมาร่า




ต่อหัวเสือ

ต่อหัวเสือ  เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Hymenoptera  ต่อเป็นแมลงที่มีพิษจัดเป็นสัตว์ประเภท Omnivorous คือ เป็นแมลงที่กินสัตว์ เช่น ตัวอ่อนแมลงอื่น ซากสัตว์ เป็นอาหาร และยังจัดเป็นแมลงตัวห้ำ (Predator) อีกทั้งเป็นแมลงที่ดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ต่อหัวเสือมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่อยู่ลำพัง หรืออยู่เป็นรวมกันเป็นแมลงสังคม (Social wasp) ส่วนต่อที่สร้างรังขนาดใหญ่มีหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงกลมใหญ่ มักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต่อหัวเสือ ต่อรัง ต่อขวด และต่อหลวง ต่อเป็นแมลงพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ในประเทศไทย พบ 18 ชนิด

ต่อ ชนิดที่อยู่รวมกันเป็นแมลงสังคม มีการแบ่งวรรณะ ประกอบด้วยเพศผู้ ซึ่งต่อราชินีและต่องาน เป็นเพศเมีย  นักวิทยาศาสตร์พบว่า  ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญเติบโตเป็นเพศเมีย ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเจริญเติบโตเป็นเพศผู้

ต่องาน มีหน้าที่หาอาหาร ป้องกันรัง ดูแลราชินี และตัวอ่อนภายในรัง

ต่อราชินีเป็นเพศเมียที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ในรังต่อจะมีต่อราชินีที่เป็นแม่ 1 ตัว  จะพบต่อราชินีที่เป็นลูกอีกหลายตัว ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงฤดูกาลการผสมพันธุ์เพื่อสร้างรังใหม่
การป้องกันรังของ ต่อหัวเสือ พวกมันจะต่อยพร้อมกับการฉีดพิษ ต่อตัวที่ต่อยได้ ทุกตัวเป็นต่อเพศเมียเท่านั้นเพราะมีเหล็กใน ที่ถูกพัฒนามาจากอวัยวะในการวางไข่ การต่อยนอกจากเป็นการป้องกันตัว ป้องกันรังแล้วต่อบางชนิดยังสามารถใช้ในการล่าเหยื่อโดยการต่อยให้เหยื่อสลบก่อนจะคาบเหยื่อไปกินเป็นอาหารที่รังต่อไป


วงจรชีวิต

การเจริญเติบโตของ ต่อ ตั้งแต่ตัวอ่อนซึ่งเป็นมีสภาพเป็นตัวหนอน (larva) ฟักออกมาจากไข่ ต้องผ่านระยะตัวหนอน หลายระยะ โดยตัวหนอนมีปากเป็นแบบกัด หนอนในระยะ สุดท้ายจะเริ่ม หยุดกินอาหารและเคลื่อนไหวน้อยลงเรียกหนอนในระยะนี้ว่า ระยะเตรียมเข้าดักแด้ (prepupa or pharate pupa)   จากนั้นจะเข้าดักแด้ (pupation) จนเป็นตัวเต็มวัยมีปีกบินได้นั้น จัดอยู่ในประเภทการลอกคราบ หรือการถอดรูปสมบูรณ์แบบ (holometabolous or complete metamorphosis)  การถอดรูปในลักษณะนี้มักพบได้ในกลุ่มแมลงที่มีวิวัฒนาการสูงวงจรชีวิตมีการพัฒนาการในระยะต่างๆ ที่สำคัญรวม 4 ระยะ คือ ระยะไข่  ระยะตัวอ่อน หรือ หนอน    ระยะดักแด้    ระยะตัวเต็มวัย


ลักษณะตัวเต็มวัย

ต่อหัวเสือ ลำตัวมีสีดำแต้มด้วยสีเหลือง หรืออาจมีสีน้ำตาล ท้องมีแถบสีส้มปนเหลืองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดลำตัว 2.7 -3.50  เซนติเมตร มีปีกสีน้ำตาลบางใส 2 คู่ ปีกคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้ามาก มีเขี้ยวที่กางออกทางข้าง 2 ข้าง ต่อหัวเสือ เป็นแมลงนักล่าที่น่าเกรงขาม สีเหลืองของมันบ่งบอกถึงภัยอันตราย สีดำแทนความแข็งแกร่งอดทนต่อหัวเสือ

รังต่อหัวเสือ จะร้างราวช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม เนื่องจากเมื่อนางพญาหมดอายุขัย และนางพญาใหม่ที่เกิดขึ้น จะออกหาคู่ และไปสร้างอาณาจักรของพวกมันเอง ทิ้งพี่ๆน้องๆของมันให้ผจญชะตากรรม จากสภาพที่ไร้ผู้ปกครอง ที่รอแต่จะแตกสลายไปในเวลาไม่นาน 

ญาติของมัน ต่อหัวเสือหลุม (V.tropica) มีพฤติกรรมนักล่าที่ดุดันกว่าต่อหัวเสือมาก  มักเข้าจู่โจมรังต่อหัวเสือบ้าน และ รังของแตน เพื่อล่าเอาตัวอ่อนไปเป็นอาหาร จนทำให้ต่อหัวเสือบ้าน และแตน แตกรัง ต้องทิ้งรังไปสร้างที่อยู่ใหม่ เรา จึงมักพบต่อหลุมบินอยู่บริเวณบ้านด้วยเช่นกัน

สามารถแบ่งการเป็นพิษจากตัวต่อได้เป็น 3 ลักษณะ ตามกลไกการเกิดพิษ คือ

1.   การเป็นพิษโดยตรง (direct toxicity) ของพิษต่อเนื้อเยื่อต่างๆทั้งที่เป็นเฉพาะที่ (local) และทั่วร่างกาย (systemic)

2.   ปฏิกิริยาภูมิต้านทาน (immunological reaction) เกิดจากการกระตุ้น mast cell , การสร้าง IgG , IgE ทำให้เกิด serum sickness และ anaphylaxis

3.   กลไกที่ยังไม่ทราบ เช่น การทำอันตรายต่อระบบ ประสาท , หลอดเลือดและไต 




การเลี้ยงต่อหัวเสือ เพื่อการค้า

การเลี้ยงต่อหัวเสือ อาจเพื่อขายตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวหนอน และดักแด้ ซึ่งอุดมด้วยโปรตีนคุณภาพ หรือ บางรายอาจเลี้ยงเพื่อขายรังให้ผู้นิยมนำไปตกแต่งบ้านและสวน ซึ่ง อดีตมีการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดลำปาง นครพนม โดยราวเดือนพฤษภาคม ต่อหัวเสื้อเริ่มสร้างรังใหม่ มีขนาดเล็ก และมีปริมาณต่องานน้อย ผู้เลี้ยงจะออกหารังต่อหัวเสือตามป่าใกล้ๆ หมู่บ้านในตอนกลางวันหรืออาจใช้เศษเนื้อ วางล่อ แล้วเฝ้าและติดตามตัวต่องานที่ออกมาหาอาหาร และนำอาหารบินกลับรัง  หลังจากนั้นช่วงเวลากลางคืนตัวต่อเข้าไปในรังทุกตัว จึงนำเศษผ้าอุดรูทางเข้าออก แล้วนำถุงผ้าหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อนำกลับมาเลี้ยง โดยผูกหรือนำไปติดตามต้นไม้ในที่ที่กำหนดต่อไป



การรักษาอาการพิษจากแมลงใน Order Hymenoptera (ผึ้ง  ต่อ  แตน)

เมื่อได้รับพิษให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรือให้ยาระงับอาการปวด ให้รับประทานยาแก้แพ้(Antihistamine) และ corticosteroid เพื่อลดอาการอักเสบและอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนด้วยก็ได้ ในบางรายที่มีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งโรงพยาบาลความรุนแรงของพิษนั้น จะผันแปรตามจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับต่อน้ำหนักตัว อายุ และประวัติการแพ้

การรักษาเมื่อได้รับพิษจากแมลงกัดต่อย หากพิษไม่มีความรุนแรง เช่น มีอาการผื่นคัน มีตุ่มน้ำ เป็นจุดแดงๆ เล็กๆ หรือมีอาการคัน ก็อาจใช้สมุนไพรบรรเทาอาการได้ เช่น ขมิ้นชัน ตำลึง  ผักบุ้งทะเล พญายอ เสลดพังพอน





หมาร่า หรือ แมงขี่หยอด หรือ แมงหยอด


หมาร่า : ชื่อวิทยาศาสตร์ Sphex viduatus Christ
หมาร่าเป็นชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ 
เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ 
เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes 
petiolata

หมาร่า ภาษาอีสานเรียกว่า "แมงขี่หยอด" หรือ "แมงหยอด"

พบที่... บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

พฤติกรรมของหมาร่า
วันที่ 3 - 5 มกราคม พ.ศ. 2555 : หมาร่าบินวนเวียนหาสถานที่ๆ เหมาะแก่การทำรัง ในช่วงเวลากลางวัน
วันที่ 6 - 8 มกราคม พ.ศ. 2555 : หมาร่านำดินมาทำรัง ด้วยวิธีการหอบ ด้วยท่าทีทั้งบินและไต่รอบทิศทาง เพื่อสร้างรังตลอดทั้งวัน การนำดินมาสร้างรังแต่ละครั้ง ใช้ระยะเวลาทิ้งช่วงประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 : หมาร่า สร้างรังเสร็จ และบินหายลับไปประมาณ 1 ชั่วโมง และบินกลับมาที่รัง แล้วบรรจงหย่อนก้นส่วนท้ายเข้าไปในรังประมาณ 2 - 3 นาที จากนั้นก็บินหายลับไป






ภาพบน : รวมหมู่อึ่ง
ภาพล่าง : อึ่งอ่าง เสียงร้อง " อึ่งงง..งงง... อ่างงงง...งง..ง "



ภาพบน : อึ่งเผ้า เสียงร้อง " โก๊ดๆๆๆๆๆ...ๆๆ..ๆ.. "
ภาพล่าง : อึ่งบักแดง เสียงร้อง " แตร๊ดดๆๆๆๆ..ๆ.. "



ภาพบน : กะปอมน้อย ( ลูกกิ้งก่า )


ภาพบน : ควายเปื้อนโคลน
ภาพล่าง : นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า



แมงอี ร้องเสียงดังมาก  ร้องเสียง  อี ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ........
อาศัยอยู่บนต้นไม้สูง ทั้งในป่า และในหมู่บ้าน พบบ่อยบนต้นมะพร้าว











ภาพบน : ลูกควาย อายุ 1 วัน
ภาพล่าง : กบ ธรรมชาติ ไม่ใช่กบเลี้ยง




ภาพบน : วัวบ้าน (ประเทศไทย)
ภาพล่าง : ควายยิ้มโชว์ฟันหลอ (ประเทศไทย)



ภาพบน : จิ้งจกกำลังกินน้ำขิงอุ่น (ฟลุ๊กสุดๆ)



ภาพบน และล่าง : งูสิงห์ มีพิษอันตรายถึงชีวิต




ภาพบน และล่าง : กิ้งก่า แบบนี้อีสานเรียก " กะปอม " (ISAN Dragon)



ภาพบน และล่าง : แมลงบนใบผักบุ้ง



ภาพบน และล่าง : นกกางเขน อีสานเรียก "นกอีด่าง" (ISAN Magpie)




ภาพบน : นกปรอด (ISAN Bulbul)
ภาพล่าง : นกเขาชวา (ISAN Java Dove)



นกเขาชวา (ISAN Java Dove)





ภาพบน : นกกระเต็น (ISAN Kingfisher)
ภาพล่าง : กา หรือ อีกา (ISAN Ravens)



ภาพบน และล่าง : นกกระจาบ (ISAN Weaverbird)




ภาพบน : ไก่แจ้ (ISAN Bantam)
ภาพล่าง : ไก่งวง (ISAN Turkey)



ภาพบน และล่าง : สัตว์แปลก ยังไม่ทราบชื่อ ใครรู้ บอกด้วย....??





ภาพบน และล่าง : ลูกตุ๊กแก



ภาพบน และล่าง : หนอน ชินเมโจได๋ สีเปลือกไม้





ภาพบน และล่าง : หนอน ชินเมโจได๋ สีเขียวใบไม้





ภาพบน : นกเขา ไม่ใช่นกเรา
ภาพล่าง : ควายเผือก อีสานบ้านเฮาเรียกว่า ควายด่อน (ด่อน = สีขาว หรือ สีเผือก)



ภาพบน และล่าง : ลูกสนุขบ้าน พันธุ์ไทย อายุได้ 5 วัน



ภาพบน : เป็ดไทย นิยมเลี้ยงเพื่อเอาไข่ บ้างก็เรียก เป็ดพันธุ์ไข่ หรือ เป็ดไล่ทุ่ง


ภาพบน และล่าง : นกกาเหว่า หรือ กาเหว่า



ภาพบน และล่าง : แมลงขาโป้ง มีขาใหญ่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คล้ายขาตั๊กแตน เมื่อนำแมลงขาโป้งไว้ในที่มืดจะหยุดนิ่งไม่ยอมเดิน เมื่อนำแมลงขาโป้งไปวางไว้ในที่สว่าง แมลงขาโป้งจะเดินทันที และเดินไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด สามารถจับต้องได้ ไม่มีพิษ หรือกัดแต่อย่างใด



ภาพบน : จิ้งเหลน อิสานเรียก ขี้โก๊ะ
ภาพล่าง : ไก่แจ้



ภาพบน : จิ้งจก


ภาพบน : แม่หนอน กำลังกัดกินใบมัน เมื่อเอาไม้แหย่ หรือเป่าลมใส่ แม่หนอนจะทำลักษณะคล้ายตาถลนออกมาสักครู่ แล้วก็หุบเข้าไปดังเดิม
ภาพล่าง : ลูกหนอน กำลังกัดกินใบมันในเครือเดียวกันกับแม่หนอน




 ภาพบน และล่าง : แย้ วิ่งเร็ว วิ่งในลักษณะท่าจังก้าคล้ายกิ้งก่าอีกัวน่าทางแถบแอฟฟริกา อาศัยอยู่ในรูขนาดพอดีตัวท่ามกลางดินที่ค่อนข้างแข็ง เช่น ถนนดินลูกรัง , ถนนดินอัดแน่นแข็งตามถนนทางดินเดินทั่วไป



ภาพบน : แมลงภู่


ภาพบน และล่าง : ห่าน พบเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554,
บ้านนาดี หมู่ที่ 1 ต.หนองระฆัง อ.สนม จ.สุรินทร์



ภาพบน และล่าง : ควาย เขาแปลกงองุ้มลงดิน (งุ้ม เป็นภาษาอิสานสนม แปลว่า โค้ง)



ภาพบน และล่าง : นกกะปูด อยู่ในช่วงวัยกำลังหัดบิน





ภาพบน และล่าง : แมงเหม็น ทางแถบอิสานสนมเรียกว่า แมงแคง



ภาพบน และล่าง : จิ้งหรีดขาว ทางแถบอิสานสนม เรียกว่า "อีโป่ม" หรือ "อิโป่ม" อาศัยอยู่ในรูใต้ดินที่ความลึกประมาณ 1 ฟุต เมนูยอดนิยม คือ หมกยอดไม้ใส่อิโป่ม (ยอดไม้ ในความเข้าใจของอิสานสนม หมายถึง หน่อไม้)



ภาพบน : แมวไทยจรจัด


ภาพบน : แมงกะโซ่น้ำ รูปร่างลักษณะคล้ายแมงดา ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว เมื่อตัวโตเต็มวัย เทียบกับแมงดาแล้ว แมงกะโซ่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของแมงดา


ภาพบน และล่าง : แมลงทับ ทางแถบอิสานสนมนิยมเรียก แมงทับ







ภาพบน : ตะขาบ ทางแถบอิสานสนม เรียกว่า "ขี้เข็บ"


ภาพบน และล่าง : หนอนหัวขวาน ( Hammerhead worm ) บ้างก็เรียก "ไส้เดือนหัวฆ้อน" หรือ "ไส้เดือนหัวขวาน" (ขอขอบคุณท่านผู้รู้ที่เข้ามาเม้นท์บอกชื่อสัตว์ประหลาดตัวนี้ให้ได้ทราบ)



 ภาพบน และล่าง : งูหง่าไม้ (งูกิ่งไม้) มีพิษร้ายแรง



ภาพบน และล่าง : แมงจีนูน หรือ แมงอีนูน




 ภาพบน และล่าง : จิ้งจกเผือก



 ภาพบน : ตุ๊กแก เพศเมีย
ภาพล่าง : ตุ๊กแก เพศผู้



 ภาพบน : แมงมอน หรือ แมงหม่อน กินใบหม่อนเป็นอาหาร
ภาพล่าง : แมงดานา เพศเมีย



ภาพบน และล่าง : ผึ้งหลวง



 

 ภาพบน และล่าง : นกขมิ้นเหลืองอ่อน



ภาพบน : แมลงภู่ อาศัยอยู่ในท่อนไม้แห้งหนา และตามอาคารบ้านเรือนที่ทำด้วยไม้ โดย...แมลงภู่ใช้วิธีเจาะรูลึกเข้าไปในเนื้อไม้แห้งลึกประมาณ 4-5 เซ็นติเมตร และกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เป็นอาหาร พบแมลงภู่ได้ในทุกฤดู และพบมากที่สุดในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ - ต้นเดือนพฤษภาคม)


ภาพบน : เขียดอีจิก เป็นเขียดที่เล็กที่สุดในบรรดาเขียดที่พบตามท้องทุ่งนาสนม พุงป่อง คล้ายอึ่งอ่าง อาศัยอยู่ใต้พื้นทรายดินร่วน และตามรอยแยกแตกของดินในช่วงฤดูร้อน พบมากที่สุดในต้นฤดูฝนย่างเข้าสู่ฤดูกาลแห่งการเริ่มต้นทำนา และกลายเป็นห่วงโซ่อาหารชั้นแรกๆ ของสัตว์ต่างๆ ได้แก่ กบ ปลา งู หนู นก มนุษย์ ฯลฯ


 ภาพบน : จิ้งหรีด , ที่มา : คลิกชม...การเลี้ยงจิ้งหรีด >>
 ภาพล่าง : แมงจีซอน แมงกะซอน แมงซอน , ที่มา : คลิกชม...วิธีการหาแมงจีซอน >>




ภาพบน : ผีเสื้อ พบเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553
ณ บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์



ภาพบน : หอยทาก อิสานสนมเรียกหอยทากชนิดนี้ว่า "หอยเดื่อ"

ภาพล่าง : หอยที่ชาวบ้านบอก..ไม่รู้..และแล้วก็ได้รู้กันเสียทีว่า นี่คือ "หอยทากแอฟริกัน" เป็นหอยที่มีขนาดใหญ่มาก


หอยทาก (Snails)
หอยทากพบได้ทั้งตามพื้นดินในสวน ในสระน้ำและแม้แต่ในทะเล หอยทากเป็นสัตว์ที่ตัวนิ่มๆ คล้ายพวกหอยทั่วไป และมีเปลือกแข็งหุ้มตัว เราก็อาจจะพบหอยทากได้ที่สนามหญ้าของโรงเรียน บริเวณดินชื้นๆ ก็ได้ เวลาหอยทากเดินไปไหนก็จะแบกเปลือกหอยที่เป็นเหมือนบ้านของมันไปด้วย เราสามารถสะกดรอยตามหอยทากได้ด้วยการเดินตามรอยเมือกเหนียวๆ ที่หอยทากสร้างขึ้น

ตาของหอยทากอยู่ที่หนวด (ก้านตา) หอยทากจะมีหนวด 2 คู่ คู่แรกยาวกว่าเป็นที่อยู่ของตา ส่วนคู่ที่สั้นกว่าจะใช้ดมกลิ่น และรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หนวดทั้งสองคู่จึงมีความสำคัญมากสำหรับหอยทาก

หอยทากจะมีอวัยวะสำหรับบดเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก มีลักษณะคล้ายกับลิ้นหยาบๆ ที่มีลักษณะคล้าตะไบ เป็นฟันซี่เล็กๆ เป็นแถว ซึ่งทำหน้าที่บดย่อยใบไม้ ดอกไม้ เพื่อกินเป็นอาหาร มันจะกินพืชสดๆ และพืชที่แห้งย่อยสลายแล้ว มันแทะผลไม้ และเปลือกอ่อนๆ ของต้นไม้ได้

หอยทากที่เรียกว่าหอยทากยักษ์ มีน้ำหนักถึง 2 ปอนด์ หรือ 900 กรัม ยาวถึง 15 นิ้ว (39.3 เซนติเมตร) จากส่วนหน้าสุดจนถึงหาง

หอยทากใช้ “เท้า” ของมันที่เป็นแผ่นบางๆ ใต้ลำตัว เท้าของมันจะยืดหด ทำให้มันเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เท้าของมันมีต่อมพิเศษที่ทำหน้าที่ผลิตเมือกใสๆ ที่ทำให้ทางที่มันคลานไปนั้นลื่น เราจึงเห็นทางเดินสีเงินๆ ของมันตามพื้นดินได้ เมือกนี้จะแข็งขึ้นเมื่อถูกกับอากาศ หอยทากสามารถที่จะเดินบนพื้นที่มีความคม แหลมเหมือนปลายเข็ม สันมีด สันมีดโกน และหนามคมๆ ได้โดยที่มันจะไม่บาดเจ็บ เพราะเมือกของหอยทากจะช่วยป้องกันร่างกายของหอยทาก จะเห็นว่าหอยทากสามารถห่อตัวนุ่มๆ ของมันรอบกิ่งไม้ได้โดยที่ไม่ตกลงมา

หอยทากมีทั้งเพศผู้ และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ที่เรียกว่า “Hermaphodite” มันจึงสร้างทั้งสเปิร์ม และไข่ได้ในเวลาเดียวกัน มันน่าอัศจรรย์จริงๆ!! แต่อย่างไรก็ตามไข่ที่สุกจะต้องได้รับการผสมกับสเปิร์มของตัวอื่น

หอยทากสีน้ำตาลจะออกไข่คราวละ 80 ฟอง รูปร่างกลมๆ สีขาวหรือออกสีนวลๆ หอยทากจะวางไข่ที่ผิวดิน และจะวางไข่ได้ถึง 6 ครั้งต่อปี ลูกของมันจะเป็นหอยทากที่โตเต็มวัย ใน 2 ปี

หอยทากที่ผสมพันธุ์แล้ว จะหาที่ที่ดินอ่อนนุ่มเพื่อจะขุดและวางไข่ “รัง” ของมันจะอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร หอยทากแต่ละตัวจะวางไข่ประมาณ 85 ฟอง จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2 - 4 สัปดาห์ ขึ้นกับอุณหภูมิในดิน ไข่จะถูกคลุมด้วยดิน และเมือกใสๆ หอยทากมักจะวางไข่ในช่วงที่อากาศร้อนและชื้น และจะออกไข่ทุกเดือนหรือทุก 6 สัปดาห์ ช่วงที่ออกไข่ถี่คือเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม
ช่วงที่เป็นตัวอ่อนมันยังไม่สามารถออกไปหาอาหารกินได้ มันจะกินเปลือกไข่ และไข่ที่ไม่ฟักเป็นตัว เมื่อหอยทากโตขึ้นเปลือกของมันก็จะขยายขึ้นในลักษณะเป็นขดวง (อ่านว่า ขด-วง) สร้างต่อจากส่วนเปิดของเปลือกหอย ส่วนเปิดของเปลือกหอยจะเกิดมาพร้อมกับลูกหอยทาก และขยายไปจนถึงส่วนปลายสุดของขดวง
(อ่านว่า ขด-วง)

หอยทากมีสัตว์ที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติหลายชนิด ได้แก่ แมลงปีกแข็งในดิน งู กบเขียด เต่า ไก่ เป็ด ห่าน เป็นต้น

หอยทากน้ำจืด ก็คล้ายกับหอยทากที่อยู่บนบก เรามักจะพบหอยทากชนิดนี้ตามบ่อน้ำในต่างจังหวัด มีรูปร่างคล้ายหอยที่พบตามพื้นดิน มักจะมีเปลือกสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม

หอยทากน้ำจืดหลายชนิดจะมีเหงือกไว้หายใจ มันจึงอาศัยอยู่บริเวณก้นสระ ส่วนชนิดที่ไม่มีเหงือกมันจะขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ และมันจึงต้องอาศัยอยู่ใกล้ๆ กับผิวน้ำ หอยทากน้ำจืดสดๆ จะนำมาทำอาหารได้อย่างเลิศรส โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสชอบกินหอยทากมาก สิ่งสำคัญก่อนที่จะ กินนั้น ต้องล้างด้วยน้ำให้สะอาดมากๆ เพื่อไม่ให้มีโคลนติดมา


ลักษณะพิเศษ และพฤติกรรมของหอยทาก
- หอยทากตัวใหญ่ที่สุดที่เคยพบความยาว 15 นิ้ว และหนัก 2 ปอนด์
- หอยทากจะสร้างเมือกเหนียวๆ เพราะเมือกนี้จะช่วยให้มันสามารถคลานผ่านคมมีดโกนได้โดยไม่มีบาดแผลได้ - หอยทากบางชนิดมีอายุได้ถึง 15 ปี
- หอยทากเป็นสัตว์ที่มีสองเพศ มันจึงมีอวัยวะเพศ ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย
- หอยทากจะไม่เดินธรรมดา แต่มักจะเดินเป็นวงกลม

- หอยทากจะรับรู้ผ่านการสัมผัส และกลิ่นเมื่อมันจะหาอาหาร เพราะมันมีสายตาที่แย่มากๆ
- หอยทากไม่สามารถได้ยินเสียง
- หอยทากสามารถจะหดหนวดหนึ่งเส้นหรือทั้งคู่ได้ในทันที
- เพราะว่าหอยทากสามารถสร้างเมือกเหนียวๆ ได้ มันจึงสามารถคลานกลับหัวได้
- หอยทากเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน มันจึงคล่องแคล่วเวลากลางคืน
- หอยทากในสวน ส่วนใหญ่จะชอบกินพืช และผัก แต่มันก็จะกินพวกพืชที่กำลังย่อยสลาย และดิน
- หอยทากทีคลานเร็วที่สุด เป็นพวกที่มีจุดด่างๆ มันคลานได้ 55 หลาต่อชั่วโมง ขณะที่ส่วนใหญ่หอยทากจะคลานได้ 23 นิ้วต่อชั่วโมง
- หอยทากในสวนจะจำศีลในฤดูหนาว และอยู่ได้ด้วยไขมันที่มันสะสมไว้
- หอยทากหายใจด้วยปอด (หอยทากที่อยู่ในน้ำบางชนิดหายใจด้วยเหงือก)
- หอยทากที่เห็นนั้นวิวัฒนาการมาจากหอยทากทะเลเมื่อ 600 ล้านปี
- หอยทากสามารถนำมาประกอบอาหารที่มีราคาแพงที่เรียกว่า Escargot และวันที่ 24 พฤษภาคม ก็เป็นวันกิน Escargot
ของชาวฝรั่งเศส ( Escargotเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "หอยทาก" )



ภาพบน และล่าง : เต่านา



ภาพบน และล่าง : แตน มีพิษร้ายแรงถึงชีวิต โอกาสพบมีน้อยมาก มักพบในฤดูหนาว และฤดูร้อน แตนที่ฟักออกจากรังใหม่ มีหัวสีแดงอมน้ำตาล และเติบโตไปเป็นตัวแก่เต็มวัย มีหัวสีน้ำตาลอมเทา



ภาพบน และล่าง : ด้วงมูลควาย คล้ายกับด้วงคาม อิสานเรียกว่า "แมงกุดจี่ขี้ควาย" ชอบอาศัยอยู่ีในมูลควายสดไม่เกิน 3 วัน แล้วย้ายที่ไปอยู่มูลควายที่สดใหม่กว่า ใช้วงจรชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ พบได้ในทุกฤดู



ภาพบน และล่าง : ไม่ทราบว่า จะเรียกว่า "ด้วง" หรือ "หนอน" เข้าใจว่ากำลังอยู่ในช่วงดักแด้ เพราะเจ้าตัวนี้อาศัยอยู่ในใจกลางขอนไม้ใหญ่ที่ผุพัง สัมผัสได้ถึงความแข็งของดักแด้ ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ  (ขณะนี้ ได้เก็บไว้รอการสังเกตไปเรื่อยๆ หากพบความเปลี่ยนแปลง จะนำมาเสนอให้ทราบอีกครั้ง)



ภาพบน : ตัวลิ้นหมา ทั้งตัวมีลักษณะนุ่มนิ่มคล้ายปลิง แต่ตัวลิ้นหมาไม่มีอันตรายใดๆ พบได้ในทุกฤดู ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้น และพบมากในฤดูฝนตามสนามหญ้าแบบป่ารก


ภาพบน และล่าง : ด้วงไม้ (ไม่ทราบชื่อ) อาศัยอยู่ในต้นไม้ที่ตายแล้ว หรืออาศัยอยู่ในขอนไม้ ด้วงชนิดนี้มักปรากฏตัวในฤดูหนาว ถึงฤดูแล้ง (ธันวาคม - เมษายน)



ภาพบน และล่าง : แมงป่อง อิสานเรียก "แมงเงา" อาศัยอยู่ระหว่างดินใต้ขอนไม้ หรือท่อนซุงขนาดใหญ่ เมื่ออยู่ในภาวะปกติแมงป่องจะมีสีดำ และเมื่อถูกกระตุ้นจากภาวะแวดล้อม (ลองเอาใม้แหย่ดู) พบว่า...แมงป่องทำการเปลี่ยนสีตัวเอง จากสีดำเป็นสีเขียวเข้มอมดำ แลดูมันวาว (เข้าใจว่า กำลังระดมพิษเพื่อใช้ต่อสู้ และป้องกันภัยให้กับตัวแมงป่องเอง) แมงป่อง มีพิษรุนแรง และอันตรายมาก




ภาพบน และล่าง : อิสานเรียกว่า "แมงงอด" พบได้ในทุกฤดู และมักพบแมงงอดใต้ขอนไม้ กิ่งไม้ใบไม้ มีพิษรุนแรง อันตรายมาก คล้ายกับ "แมงเงา" (แมงป่อง) เพียงแต่แมงเงามีขนาดใหญ่กว่าแมงงอด 5-7 เท่า และมีสีดำ ส่วนแมงงอดนั้นจะมีสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล



ภาพบน และล่าง : แมงมัน พบแมงชนิดนี้ในทุกฤดู และพบมากที่สุดในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ผู้ที่เคยรับประทานแมงมันเล่าว่า...แมงมันมีรสชาดมันๆ รับประทานได้ทั้งดิบ และสุก แต่โดยทั่วไปนิยมทำให้สุกก่อนรับประทาน เมื่อนำแมงมันไปย่างไฟ สังเกตพบน้ำมันออกจากตัวแมงมันได้อย่างชัดเจน และมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวแมงมันเอง


ภาพล่าง : เหลือกใบไม้ เหลือกชนิดนี้กินใบไม้ และผลไม้เป็นอาหาร พบได้ในทุกฤดู และไม่เป็นภัยกับคน และสัตว์อื่นๆ สามารถจับต้องได้






ภาพบน : ผีเสื้อกลางคืน ปีกแต่ละข้างมีขนาดใหญ่ประมาณใบโำพธิ์ พบเมื่อคืนวันที่ 5 ธ.ค. 2553


 ภาพบน และล่าง : นกนางแอ่น เกาะสายไฟเป็นกลุ่ม นกชนิืดนี้มักชอบออกหากินเป็นกลุ่ม จัดอยู่ในประเภทนกนางแอ่นบ้าน สามารถพบเห็นนกนางแอ่นได้ในทุกฤดู และพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ถึงฤดูร้อนของทุกปี ("นกนางแอ่น" เป็นนกต่างชนิดกันกับ "นกแอ่น" ที่นำรังนกมาแปรรูปเป็นอาหาร)



ภาพบน : แถบอิสานสนมเรียกว่า "แมงอีนูน" บางคนก็เรียก "แมงกีนูน" ส่วนแถบอิสานตอนบนเรียกว่า "แมงจีนูน"


ภาพบน : ตัวปาด ภาษาอิสานเรียก "เขียดตะปาด" หรือ "เขียดตับปาด" มีรูปร่าง และลักษณะคล้ายกบ เพียงแต่ ตัวปาด จะมีสีผิวที่ฉูดฉาด หลากสี และผิวเรียบกว่า ไม่มีพิษใดๆ พบเห็นได้ในทุกช่วงฤดู ความแปลกของปาดชนิดนี้คือ มักซ่อนตัวอยู่ในที่แห้งไม่ชื้น แต่ต้องอยู่ใกล้กับแหล่งที่ให้ความชื้น เช่น ซ่อนตัวอยู่ตามซอกไม้ในห้องน้ำ , ซ่อนตัวอยู่ใต้หลังคาที่มีโอ่งน้ำ หรืออ่างน้ำอยู่ใกล้ๆ เป็นต้น


ภาพบน : งูสิงห์ขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวประมาณ 2 นิ้ว ขณะกำลังหลบตัวอยู่ใต้ต้นไม้ มีพิษรุนแรง โอกาสพบเห็นงูสิงห์นั้นมีน้อยมาก มักพบงูประเภทนี้กินปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และลูกไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้เป็นอาหาร ความเชื่อโบราณของคนสนมสมัยก่อน...เล่าต่อกันมาว่า ถ้าใครเห็นงูใหญ่กินน้ำในสระ บ่อ ห้วย หนอง คลอง บึง ตามธรรมชาติแล้วให้รีบๆ อุทานขอพร ให้พูดแต่สิ่งดีๆ เข้าตัว คนๆ นั้นจะโชคดีตามสิ่งที่ได้พูดอุทานออกไป แต่ส่วนใหญ่มักอุทานออกมาไม่ดี ก็จะได้รับแต่สิ่งที่ไม่ดีเข้าตัว (เป็นความเชื่อ โปรดใช้วิจารณญาณ)



ภาพบน : งูกิ่งไม้ อิสานเรียก "งูหง่าไม้" (กิ่ง = หง่า) อาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีลักษณะสูงใหญ่ โดยเกาะอยู่ตามกิ่งก้านตอนปลาย "งูหง่าไม้" ดังภาพเป็นวัยที่มีอายุไม่มาก (ความคิดเห็นส่วนตัว : เปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจอย่างง่าย คงจะเป็นช่วงวัยรุ่น) มีลักษณะคล้ายตั๊กแตนตำข้าว (ตั๊กแตนตำข้าว อิสานเรียก "ผีพงม่า") เมื่อตัวโตแก่เต็มที่แล้ว ลำตัวจะมีลักษณะสีน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกไม้ หรือคล้ายกับกิ่งไม้ ยาวประมาณ 1 ฟุต มีพิษรุนแรง จากข้อมูลในพื้นที่พบว่ามีคนตายจากสาเหตุโดน "งูหง่าไม้" กัดมาแล้ว




ภาพบน : จระเข้ (อิสานเรียก "แข่" บางคนเรียกผสมผสานว่า "จระแข่") บ้านลุงปั้ง ป้าลา เลี้ยงไว้จำนวน 11 ตัว ใช้เวลาเลี้ยงจวบจนปัจจุบัน อายุประมาณ 5 ปี น้ำหนักต่อตัวโดยเฉลี่ย 45 กิโลกรัม (อ้างอิง : 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)


ภาพบน : นกกระจาบ , อิสานสนมเรียกว่า " นกกระจอก "


ภาพบน : ด้วง ลักษณะนี้ อิสานเรียก "แมงคาม" กินใบไม้เป็นอาหาร พบว่ามีใบไม้ชนิดหนึ่ง ต้นสูงใหญ่ คล้ายต้นก้ามปู ลักษณะใบเล็กคล้ายใบมะขาม และใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นใบไม้ที่แมงคามชอบกิน แถบพื้นที่อิสานสนม เรียก "ต้นแมงคาม" (ในภาพ คือ "แมงคาม" เกาะต้นหม่อนไว้) สามารถพบแมงคามได้ทุกฤดู ตลอดปี


ภาพบน : กิ้งก่า ประเภทนี้ อิสานเรียก "กะปอม"

ภาพล่าง : หนอนผีเสื้อตัวใหญ่ ขนาดลำตัวด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3 เซนติเมตร กำลังกัดกินใบมะเขือเปาะ มักพบหนอนผีเสื้อประเภทนี้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม คือ ช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี



ภาพบน : แมลงเต่าทอง อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่พบจากหลายสายพันธุ์ในบ้านสนม อ.สนม จ.สุรินทร์ พบเห็นในทุกฤดู และพบบ่อยในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เมื่อสัมผัสที่ตัวแมลงเต่าทอง จะรับรู้ได้ถึงกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เพียงเล็กน้อย แต่ไม่รุนแรง


ภาพบน : ควายเขาแปลก บ้านสิริถาวร ต.หนองอียอ อ.สนม จ.สุรินทร์ ปกติควายจะมีเขาโค้งชี้ขึ้นข้างบน แต่ที่พบในภาพ เขาควายตัวนี้ชี้โค้งลู่ขนานกับลำตัว

ภาพล่าง : ผีเสื้อชนิดหนึ่ง (ผีเสื้อ อิสานเรียก "แมงกะเบื้อ") มีลักษณะแตกต่างไปจากผีเสื้อทั่วไป คือ ไม่ได้มีปีกโค้งสวยงาม และมีลายจุดหลากสี เหมือนผีเสื้อทั่วไป มักพบในที่มุมมืดตามบ้านเรือน โดยเฉพาะบ้านไม้ ชาวบ้านแถบนี้มักเรียกว่า "แมงกะเบื้อผี" พบได้ในทุกฤดู และโอกาสพบนั้นมีน้อยมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น