วัดสร้างแก้ว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 5 ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์
งานพุทธศิลป์แห่งจิตวิญญาณ
ช่วงปี พ.ศ.2545 พระมหาภูลังกาจำพรรษาที่วัดเกาะ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พร้อมกับทำงานระดมทุนการก่อสร้างอุโบสถที่วัดสร้างแก้ว บ้านสร้างแก้ว ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์ เกิดความคิดว่าอยากจะสร้างจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ ถวายเป็นพุทธบูชา จึงได้เริ่มเดินทางหาช่างที่มีฝีมือ โดยได้ตระเวนไปดูงานเขียนตามวัดต่าง ๆ จนไปเจอช่างที่มีฝีมือ เมื่อได้โทรศัพท์คุยกันยิ่งทำให้รู้สึกอยากทำงานชิ้นนี้เร็วยิ่งขึ้น แต่ติดตรงปัญหาเรื่องเงินอย่างเดียว เพราะทางวัดไม่มีงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งการจะทำความเข้าใจเรื่องงานศิลป์กับชาวบ้านก็ลำบากใจยิ่งนัก เพราะจะมีสักกี่คนกันที่เห็นคุณค่าของงานศิลป์ พระมหาภูลังกาได้มาชั่งใจของตัวเอง ว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเพื่ออะไร ได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับการลงทุนไปหรือเปล่า พระมหาภูลังกาได้ตอบคำถามเหล่านั้นทั้งหมดว่า ทำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ประโยชน์ที่จะได้เบื้องต้นอาจจะยังไม่มีคนเห็นค่า แต่เมื่อตายไปแล้วคนรุ่นหลังจะได้เห็นพลังแห่งความศรัทธาของบรรพชนของเขาเอง ความคุ้มค่าถ้าคิดในเรื่องเงินอาจจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าคิดในแง่คุณค่าทางจิตใจนั้น ผลที่ออกมามีความคุ้มค่ามหาศาลเหลือคณานัก
เมื่อพระมหาภูลังกาตอบโจทย์คำถามตัวเองได้แล้ว จึงได้คุยกับจิตรกรชาวเชียงใหม่ โดยบอกว่าขอผ่อนผันเรื่องเงินให้ได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้วัดไม่มีเงิน แต่จะทะยอยหาให้เรื่อยๆ ทางฝ่ายช่างได้ตกลงยอมผ่อนผันให้ จึงเดินทางมาจากเชียงใหม่ พร้อมอุปกรณ์ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งไม่ได้แจ้งให้ชาวบ้านได้ทราบ บอกแต่เพียงหลวงพ่ออุปัชฌาย์เท่านั้น เพราะเชื่อว่าหากเรียกชาวบ้านมาประชุม ก็คงยากที่จะได้ทำงานชิ้นนี้แน่ๆ จึงตัดบทไปด้วยคำพูดว่า "อาตมาจะรับผิดชอบเอง จะไม่ให้ใครลำบาก และจะหาเงินมาให้เขาเอง" ในช่วงแรกของการทำงานก็ช่างใจกันอยู่นาน จนได้ข้อสรุปว่าจะวาดภาพพุทธประวัติตามตำนานพระอภิธรรม โดยสร้างงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่มีการลอกเลียนแบบผู้ใด จิตรกรผู้นี้เป็นช่างที่เข้าใจ และเข้าถึงงานศิลป์อย่างแท้จริงมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ยาวนานกว่า 30 ปี และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องกาพย์กลอน ชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาได้ให้นิยามเกี่ยวกับพระมหาภูลังกาว่า "เป็นเพียงนกกระจอกตัวน้อย แต่อาจหาญที่จะบินเยี่ยงพญาอินทรีย์" คำพูดหนึ่งที่ทำให้พระมหาภูลังกาสำรวมระวัง คือ "ผมตระเวนวาดภาพมาทั่วประเทศไทย ยังไม่เห็นพระรูปไหนที่ผมจะกราบได้สนิทใจเหมือนหลวงพี่เลย" ตกลงได้ว่าจ้างในราคา สองแสนบาท โดยไม่ได้เขียนสัญญาอะไร มีเพียงสัญญาใจ และคำมั่นสัญญาว่า "เรา (พระมหาภูลังกา และจิตรกร) ครอบครัวเดียวกัน อาตมา (พระมหาภูลังกา) จะดูแลครอบครัว ไม่ให้เดือดร้อน" พระมหาภูลังกาปล่อยช่างจิตรกรไว้ที่สุรินทร์ แต่ตัวเองกลับมาจำพรรษาที่อ่างทอง ในช่วงกลางพรรษารู้สึกกังวล และคิดถึงช่างจิตรกรเลยเดินทางลงไปเยี่ยม ปรากฏว่าช่างได้เดินทางกลับเชียงใหม่ เพราะช่วงนั้นไม่สามารถหาเงินให้ใช้ได้ทัน พอออกพรรษาช่างกลับมาทำงานต่อช่วงทอดกฐินพอดี เลยมีเงินให้ได้ใช้บ้าง และในช่วงปี 2546 พระมหาภูลังกาได้จัดงานยกช่อฟ้าอุโบสถของวัดสร้างแก้ว ในช่วงที่ช่างจิตรกรทำงานอยู่นั้น พระมหาภูลังกาได้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งอาหาร การเป็นอยู่ พระมหาภูลังการับงานแสดงธรรมเทศนา ช่างจิตรกรก็เป็นลูกศิษย์ ทุกครั้งที่แสดงธรรม ประโยคที่ทุกคนคุ้นเคยได้ยินสม่ำเสมอ คือ "ลาภสักการะใดๆ ที่บังเกิดจากการแสดงธรรมนี้ ข้าพเจ้าไม่ขอรับเป็นการส่วนตัว ขอถวายเป็นพุทธบูชา สร้างงานพุทธศิลป์ประจำโบสถ์วัดสร้างแก้ว" ในช่วงนั้นได้ตระเวนเทศน์หาเงินให้ช่างวาดรูป จนกระทั่งงานเขียนนี้ได้เสร็จสิ้นลง ถามว่าพระมหาภูลังกาทุกข์ใจใหม ก็มีบ้างถึงจะทุกข์แต่ก็ไม่เคยท้อ เพราะมองไปไกลถึงอนาคต พอคิดว่าได้ทำเพื่อพระพุทธเจ้า ความเหนือยล้าความท้อใจก็สูญหายไป ทุกครั้งที่พระมหาภูลังกาท้อใจ หรืออยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ใจ ก็จะเข้าไปเก็บตัวในอุโบสถ แล้วมองภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังอุโบสถ แลเห็นความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ความทุกข์ก็หายไปด้วยพุทธานุภาพ งานเขียนชิ้นนี้เกิดขึ้นจากจินตนาการของพระมหาภูลังกา ผ่านการถ่ายทอดโดยจิตรกรที่มีใจไปในทิศทางเดียวกันจนก่อเกิดลุล่วงได้อย่างเป็นผลสำเร็จ
งานเขียนได้เสร็จสมบูรณ์ลงในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่พระมหาภูลังกาได้มีโอกาสเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ ประเทศอินเดีย เนปาล และกลับมาปิดงานพุทธศิลป์ชิ้นนี้ และจ่ายเงินค่าจ้างสามแสนบาท โดยไม่ได้รวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ วันนี้พระมหาภูลังกาได้ฝากงานพุทธศิลป์ไว้ในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว สามารถเข้าชมภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังอุโบสถ ที่สวยงามวิจิตรพุทธศิลป์ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
งานพุทธศิลป์แห่งจิตวิญญาณ
ช่วงปี พ.ศ.2545 พระมหาภูลังกาจำพรรษาที่วัดเกาะ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พร้อมกับทำงานระดมทุนการก่อสร้างอุโบสถที่วัดสร้างแก้ว บ้านสร้างแก้ว ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์ เกิดความคิดว่าอยากจะสร้างจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ ถวายเป็นพุทธบูชา จึงได้เริ่มเดินทางหาช่างที่มีฝีมือ โดยได้ตระเวนไปดูงานเขียนตามวัดต่าง ๆ จนไปเจอช่างที่มีฝีมือ เมื่อได้โทรศัพท์คุยกันยิ่งทำให้รู้สึกอยากทำงานชิ้นนี้เร็วยิ่งขึ้น แต่ติดตรงปัญหาเรื่องเงินอย่างเดียว เพราะทางวัดไม่มีงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งการจะทำความเข้าใจเรื่องงานศิลป์กับชาวบ้านก็ลำบากใจยิ่งนัก เพราะจะมีสักกี่คนกันที่เห็นคุณค่าของงานศิลป์ พระมหาภูลังกาได้มาชั่งใจของตัวเอง ว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเพื่ออะไร ได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับการลงทุนไปหรือเปล่า พระมหาภูลังกาได้ตอบคำถามเหล่านั้นทั้งหมดว่า ทำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ประโยชน์ที่จะได้เบื้องต้นอาจจะยังไม่มีคนเห็นค่า แต่เมื่อตายไปแล้วคนรุ่นหลังจะได้เห็นพลังแห่งความศรัทธาของบรรพชนของเขาเอง ความคุ้มค่าถ้าคิดในเรื่องเงินอาจจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าคิดในแง่คุณค่าทางจิตใจนั้น ผลที่ออกมามีความคุ้มค่ามหาศาลเหลือคณานัก
เมื่อพระมหาภูลังกาตอบโจทย์คำถามตัวเองได้แล้ว จึงได้คุยกับจิตรกรชาวเชียงใหม่ โดยบอกว่าขอผ่อนผันเรื่องเงินให้ได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้วัดไม่มีเงิน แต่จะทะยอยหาให้เรื่อยๆ ทางฝ่ายช่างได้ตกลงยอมผ่อนผันให้ จึงเดินทางมาจากเชียงใหม่ พร้อมอุปกรณ์ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งไม่ได้แจ้งให้ชาวบ้านได้ทราบ บอกแต่เพียงหลวงพ่ออุปัชฌาย์เท่านั้น เพราะเชื่อว่าหากเรียกชาวบ้านมาประชุม ก็คงยากที่จะได้ทำงานชิ้นนี้แน่ๆ จึงตัดบทไปด้วยคำพูดว่า "อาตมาจะรับผิดชอบเอง จะไม่ให้ใครลำบาก และจะหาเงินมาให้เขาเอง" ในช่วงแรกของการทำงานก็ช่างใจกันอยู่นาน จนได้ข้อสรุปว่าจะวาดภาพพุทธประวัติตามตำนานพระอภิธรรม โดยสร้างงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่มีการลอกเลียนแบบผู้ใด จิตรกรผู้นี้เป็นช่างที่เข้าใจ และเข้าถึงงานศิลป์อย่างแท้จริงมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ยาวนานกว่า 30 ปี และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องกาพย์กลอน ชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาได้ให้นิยามเกี่ยวกับพระมหาภูลังกาว่า "เป็นเพียงนกกระจอกตัวน้อย แต่อาจหาญที่จะบินเยี่ยงพญาอินทรีย์" คำพูดหนึ่งที่ทำให้พระมหาภูลังกาสำรวมระวัง คือ "ผมตระเวนวาดภาพมาทั่วประเทศไทย ยังไม่เห็นพระรูปไหนที่ผมจะกราบได้สนิทใจเหมือนหลวงพี่เลย" ตกลงได้ว่าจ้างในราคา สองแสนบาท โดยไม่ได้เขียนสัญญาอะไร มีเพียงสัญญาใจ และคำมั่นสัญญาว่า "เรา (พระมหาภูลังกา และจิตรกร) ครอบครัวเดียวกัน อาตมา (พระมหาภูลังกา) จะดูแลครอบครัว ไม่ให้เดือดร้อน" พระมหาภูลังกาปล่อยช่างจิตรกรไว้ที่สุรินทร์ แต่ตัวเองกลับมาจำพรรษาที่อ่างทอง ในช่วงกลางพรรษารู้สึกกังวล และคิดถึงช่างจิตรกรเลยเดินทางลงไปเยี่ยม ปรากฏว่าช่างได้เดินทางกลับเชียงใหม่ เพราะช่วงนั้นไม่สามารถหาเงินให้ใช้ได้ทัน พอออกพรรษาช่างกลับมาทำงานต่อช่วงทอดกฐินพอดี เลยมีเงินให้ได้ใช้บ้าง และในช่วงปี 2546 พระมหาภูลังกาได้จัดงานยกช่อฟ้าอุโบสถของวัดสร้างแก้ว ในช่วงที่ช่างจิตรกรทำงานอยู่นั้น พระมหาภูลังกาได้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งอาหาร การเป็นอยู่ พระมหาภูลังการับงานแสดงธรรมเทศนา ช่างจิตรกรก็เป็นลูกศิษย์ ทุกครั้งที่แสดงธรรม ประโยคที่ทุกคนคุ้นเคยได้ยินสม่ำเสมอ คือ "ลาภสักการะใดๆ ที่บังเกิดจากการแสดงธรรมนี้ ข้าพเจ้าไม่ขอรับเป็นการส่วนตัว ขอถวายเป็นพุทธบูชา สร้างงานพุทธศิลป์ประจำโบสถ์วัดสร้างแก้ว" ในช่วงนั้นได้ตระเวนเทศน์หาเงินให้ช่างวาดรูป จนกระทั่งงานเขียนนี้ได้เสร็จสิ้นลง ถามว่าพระมหาภูลังกาทุกข์ใจใหม ก็มีบ้างถึงจะทุกข์แต่ก็ไม่เคยท้อ เพราะมองไปไกลถึงอนาคต พอคิดว่าได้ทำเพื่อพระพุทธเจ้า ความเหนือยล้าความท้อใจก็สูญหายไป ทุกครั้งที่พระมหาภูลังกาท้อใจ หรืออยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ใจ ก็จะเข้าไปเก็บตัวในอุโบสถ แล้วมองภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังอุโบสถ แลเห็นความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ความทุกข์ก็หายไปด้วยพุทธานุภาพ งานเขียนชิ้นนี้เกิดขึ้นจากจินตนาการของพระมหาภูลังกา ผ่านการถ่ายทอดโดยจิตรกรที่มีใจไปในทิศทางเดียวกันจนก่อเกิดลุล่วงได้อย่างเป็นผลสำเร็จ
งานเขียนได้เสร็จสมบูรณ์ลงในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่พระมหาภูลังกาได้มีโอกาสเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ ประเทศอินเดีย เนปาล และกลับมาปิดงานพุทธศิลป์ชิ้นนี้ และจ่ายเงินค่าจ้างสามแสนบาท โดยไม่ได้รวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ วันนี้พระมหาภูลังกาได้ฝากงานพุทธศิลป์ไว้ในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว สามารถเข้าชมภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังอุโบสถ ที่สวยงามวิจิตรพุทธศิลป์ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ดู วัดสร้างแก้ว ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น