โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูความรู้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปี 2555 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนโก (รพ.สต.โพนโก) ณ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อ.โขงเจียม - อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 8 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสูง เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือ ไปออกประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแก่งตะนะมีสายน้ำที่เชี่ย วและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,000 ไร่
จากการสำรวจของจังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่า ป่าดงหินกอง มีสภาพพื้นที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจ พบว่า ป่าดงหินกองมีสภาพป่าสมบูรณ์ และมีธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง แต่เป็นป่าโครงการเพื่อการใช้สอยเอนกประสงค์ของราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ป่าดงหินกอง เฉพาะบางส่วนบริเวณรอบๆ แก่งตะนะ และน้ำตกตาดโตน เนื้อที่ประมาณ 12 ตร.กม. ให้เป็นวนอุทยานป่าดงหินกอง ตามคำสั่งที่ 2428/2522 ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522
ต่อมา ป่าดงหินกอง ถูกประกาศให้เป็นป่าปิด ห้ามการทำไม้ทุกชนิด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2522 กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 908 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ" ซึ่งเป็นชื่อตามธรรมชาติของลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งเป็นจุดเด่นใหญ่ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันดี นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 31 ของประเทศไทย
คำว่า "ตะนะ" จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า "มรณะ" เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้ มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำ หรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า "แก่งมรณะ" ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "แก่งตะนะ"
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบเป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สุงที่สุด คือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะ หรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน
ลักษณะภูมิอากาศ
จัดอยู่ในเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ 2 สาย คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อากาศจึงแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป คือ ฤดูร้อน อากาศจะไปร้อนจนเกินไป ฤดูหนาว ไม่หนาวจัด และฤดูฝน ค่อนข้างชุก
พรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าแพะ และป่าแดง มีไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแคระแกรน นอกจากนี้ ยังพบป่าเป็นสภาพป่าดิบแล้งบ้างตามบริเวณห้วยใหญ่ๆ และบนดอนตะนะ พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ไม้ประดู่ แดง หว้า สัก ยาง นอกนั้น มีทุ่งหญ้าอยู่บ้างเป็นหย่อมๆ ไม้พื้นล่างมีพวกไม้ไผ่ และไม้เถาอื่นๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป
สัตว์ป่าที่พบเห็น ประกอบไปด้วย หมู่ป่า เก้ง อีเห็น ชะมด ลิง ชะนี นกชนิดต่างๆ และปลาชนิดต่างๆ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " อุบลราชธานี "
ดู อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสูง เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือ ไปออกประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแก่งตะนะมีสายน้ำที่เชี่ย วและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,000 ไร่
จากการสำรวจของจังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่า ป่าดงหินกอง มีสภาพพื้นที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจ พบว่า ป่าดงหินกองมีสภาพป่าสมบูรณ์ และมีธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง แต่เป็นป่าโครงการเพื่อการใช้สอยเอนกประสงค์ของราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ป่าดงหินกอง เฉพาะบางส่วนบริเวณรอบๆ แก่งตะนะ และน้ำตกตาดโตน เนื้อที่ประมาณ 12 ตร.กม. ให้เป็นวนอุทยานป่าดงหินกอง ตามคำสั่งที่ 2428/2522 ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522
ต่อมา ป่าดงหินกอง ถูกประกาศให้เป็นป่าปิด ห้ามการทำไม้ทุกชนิด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2522 กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 908 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ" ซึ่งเป็นชื่อตามธรรมชาติของลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งเป็นจุดเด่นใหญ่ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันดี นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 31 ของประเทศไทย
คำว่า "ตะนะ" จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า "มรณะ" เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้ มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำ หรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า "แก่งมรณะ" ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "แก่งตะนะ"
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบเป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สุงที่สุด คือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะ หรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน
ลักษณะภูมิอากาศ
จัดอยู่ในเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ 2 สาย คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อากาศจึงแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป คือ ฤดูร้อน อากาศจะไปร้อนจนเกินไป ฤดูหนาว ไม่หนาวจัด และฤดูฝน ค่อนข้างชุก
พรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าแพะ และป่าแดง มีไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแคระแกรน นอกจากนี้ ยังพบป่าเป็นสภาพป่าดิบแล้งบ้างตามบริเวณห้วยใหญ่ๆ และบนดอนตะนะ พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ไม้ประดู่ แดง หว้า สัก ยาง นอกนั้น มีทุ่งหญ้าอยู่บ้างเป็นหย่อมๆ ไม้พื้นล่างมีพวกไม้ไผ่ และไม้เถาอื่นๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป
สัตว์ป่าที่พบเห็น ประกอบไปด้วย หมู่ป่า เก้ง อีเห็น ชะมด ลิง ชะนี นกชนิดต่างๆ และปลาชนิดต่างๆ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " อุบลราชธานี "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น