โบราณสถาน ปราสาทขุมดิน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดปราสาทขุมดิน บ้านขุมดิน หมู่ที่ 4 ต.หนองหลวง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
ประวัติโบราณสถาน ปราสาทขุมดิน
ณ บ้านขุมดิน เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีเศษ เมื่อครั้งอดีตผ่านมา มีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงไม่กี่หลังคาเรือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ เช่นเดียวกับหมู่บ้านชนบททั่วๆ ไปของภาคอิสานที่ห่างไกลความเจริญ การคมนาคมไปมาหาสู่กัน ใช้การเดินเท้าเป็นหลัก ยานพาหนะที่ใช้ คือ เกวียนเทียมวัว , ม้า แสงสว่างยามค่ำคืนมีกระบองจุดกันวอมแวม ข้าวก็ปลูกไว้แต่พอใส่ครกตำหุงกิน แหล่งอาหารก็หาจากป่าธรรมชาติข้างบ้านซึ่งมีอยู่มากมาย ไม่เดือดร้อน ได้แก่ กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา ผักชนิดต่างๆ หาได้มากก็แบ่งปันกันกับเพื่อนบ้าน เรียกได้ว่าอยู่กันแบบพอมีพอกิน
บ้านขุมดิน เดิมขึ้นอยู่กับตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ คำว่า " ขุมดิน " หมายถึง " หลุมดิน " เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน " บ้านขุมดิน " ถัดไปจากหมู่บ้านด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พบโบราณสถาน ที่อยู่ในสภาพปรักหักพังอยูีในป่าไม่ห่างจากหมู่บ้านนัก ชาวบ้านเชื่อและศรัทธาใรความศักดิ์สิทธิ์ ไม่กล้าที่จะเข้าไปแตะต้อง ผู้เฒ่าผู่แก่บ้านขุมดินเล่าว่า... บางเพลาพลบค่ำได้ยินเสียงฆ้องโหม่งดังจากมาโบราณสถานปราสาทขุมดินแห่งนี้ หากช่วงนี้ใครเดินผ่านสัญจรไปมาระหว่างบ้านขุมดิน กับบ้านโนนสั้น จะพบเห็นเหตุการณ์แปลกๆ เช่น ได้ยินเสียงม้าร้อง และวิ่งอยู่ข้างหน้าแล้วก็หายเข้าป่าไปทางโบราณสถานปราสาทขุมดิน ใครเทียมเกวียนผ่านย่านนี้ วันก็จะตื่นตกใจ บางทีจะไม่ยอมขยับ คือ หยุดเดิน ในช่วงเวลากลางคืนจะไม่มีใครกล้าเดินผ่าน เพราะมักจะพบกับเหตุการณ์แปลกๆ และกลับมาจับไข้ บางรายก็แก้เคล็ดด้วยการบวงสรวง เช่น ไหว้ไปตามความเชื่อ บางรายก็ถึงแก่ชีวิต สร้างความร่ำลือ หวาดกลัวแก่คนที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียง ต่อมาชาวบ้านได้เข้าไปดูปราสาทโบราณแห่งนี้ พบ...ปราสาทโบราณรูปทรงของสิ่งก่อสร้างค่อนข้างสมบูรณ์ และได้เรียกขานโบราณสถานแห่งนี้ตามชื่อหมู่บ้านว่า " ปราสาทขุมดิน " และกรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบ... อายุของทับหลัง และซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1561 - 1630 หรือประมาณพันกว่าปีมาแล้ว ชาวบ้านได้เข้าไปกราบไหว้บวงสรวงตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อชุมชนขยายมากขึ้น การคมนาคมมีความสะดวก นักขุดค้นวัตถุโบราณทราบว่ามีโบราณสถานตั้งอยู่ในป่า ไม่มีใครเฝ้าดูแล จึงพากันมาขุดค้นหาของมีค่า ปราสาทขุมดินจึงถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์พวกนี้ และขนเอาของมีค่าต่างๆ ไปแทบหมดสิ้น ชาวบ้านต่างรู้กันดีว่าใครเป็นคนขุดทำลายปราสาทโบราณสาถนแห่งนี้ ได้ขนโบราณวัตถุโบราณไปมากมาย ครั้งหลังสุดได้มายกเอาแผ่นทับหลังขนาดใหญ่ 2 แผ่นออกไป ชาวบ้านเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้รถที่ขนโขมยทับหลังเกิดอุบัติเหตุรถเสียไม่สามารถวิ่งต่อได้ จึงได้บวงสรวงเซ่นไหว้ว่าจะนำทับหลังคืนกลัีบไปเก็บไว้ที่เดิม รถจึงสามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ปัจจุบันโบราณสถานปราสาทขุมดิน ยังหลงเหลือพระพุทธรูปบูชาองค์เล็กหลายองค์ ในความดูแลของท่านพระครูศรีปริยัติวราภรณ์ รองเจ้าคณะอำเภอรัตนบุรี เจ้าอาวาสวัดปราสาทขุมดิน ซึ่งเป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในภายหลัง ติดกับปราสาทขุมดิน และทางวัดได้เข้ามาดูแลรักษาปราสาทแห่งนี้มากว่า 40 ปีแล้ว ปราสาทแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันสำคัญของท้องถิ่น และได้รับการกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลจากประชาชนทั้งในและนอกหมู่บ้านขุมดิน
โบราณสถาน ปราสาทขุมดิน ได้รับการบูรณะฟื้นฟู ปรับปรุงเพื่อเป็นสถานที่สำคัญต่อไป ประกอบกับขณะนี้ ปราสาทขุมดิน อยู่ในเขตตำบลหนองหลวง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของอำเภอโนนนารายณ์ และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโนนนารายณ์ประมาณ 4 กิโลเมตร
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. บ้านขุมดิน หมู่ที่ 4 ต.หนองหลวง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
2. วัดปราสาทขุมดิน บ้านขุมดิน ต.หนองหลวง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
ประวัติโบราณสถาน ปราสาทขุมดิน
ณ บ้านขุมดิน เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีเศษ เมื่อครั้งอดีตผ่านมา มีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงไม่กี่หลังคาเรือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ เช่นเดียวกับหมู่บ้านชนบททั่วๆ ไปของภาคอิสานที่ห่างไกลความเจริญ การคมนาคมไปมาหาสู่กัน ใช้การเดินเท้าเป็นหลัก ยานพาหนะที่ใช้ คือ เกวียนเทียมวัว , ม้า แสงสว่างยามค่ำคืนมีกระบองจุดกันวอมแวม ข้าวก็ปลูกไว้แต่พอใส่ครกตำหุงกิน แหล่งอาหารก็หาจากป่าธรรมชาติข้างบ้านซึ่งมีอยู่มากมาย ไม่เดือดร้อน ได้แก่ กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา ผักชนิดต่างๆ หาได้มากก็แบ่งปันกันกับเพื่อนบ้าน เรียกได้ว่าอยู่กันแบบพอมีพอกิน
บ้านขุมดิน เดิมขึ้นอยู่กับตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ คำว่า " ขุมดิน " หมายถึง " หลุมดิน " เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน " บ้านขุมดิน " ถัดไปจากหมู่บ้านด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พบโบราณสถาน ที่อยู่ในสภาพปรักหักพังอยูีในป่าไม่ห่างจากหมู่บ้านนัก ชาวบ้านเชื่อและศรัทธาใรความศักดิ์สิทธิ์ ไม่กล้าที่จะเข้าไปแตะต้อง ผู้เฒ่าผู่แก่บ้านขุมดินเล่าว่า... บางเพลาพลบค่ำได้ยินเสียงฆ้องโหม่งดังจากมาโบราณสถานปราสาทขุมดินแห่งนี้ หากช่วงนี้ใครเดินผ่านสัญจรไปมาระหว่างบ้านขุมดิน กับบ้านโนนสั้น จะพบเห็นเหตุการณ์แปลกๆ เช่น ได้ยินเสียงม้าร้อง และวิ่งอยู่ข้างหน้าแล้วก็หายเข้าป่าไปทางโบราณสถานปราสาทขุมดิน ใครเทียมเกวียนผ่านย่านนี้ วันก็จะตื่นตกใจ บางทีจะไม่ยอมขยับ คือ หยุดเดิน ในช่วงเวลากลางคืนจะไม่มีใครกล้าเดินผ่าน เพราะมักจะพบกับเหตุการณ์แปลกๆ และกลับมาจับไข้ บางรายก็แก้เคล็ดด้วยการบวงสรวง เช่น ไหว้ไปตามความเชื่อ บางรายก็ถึงแก่ชีวิต สร้างความร่ำลือ หวาดกลัวแก่คนที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียง ต่อมาชาวบ้านได้เข้าไปดูปราสาทโบราณแห่งนี้ พบ...ปราสาทโบราณรูปทรงของสิ่งก่อสร้างค่อนข้างสมบูรณ์ และได้เรียกขานโบราณสถานแห่งนี้ตามชื่อหมู่บ้านว่า " ปราสาทขุมดิน " และกรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบ... อายุของทับหลัง และซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1561 - 1630 หรือประมาณพันกว่าปีมาแล้ว ชาวบ้านได้เข้าไปกราบไหว้บวงสรวงตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อชุมชนขยายมากขึ้น การคมนาคมมีความสะดวก นักขุดค้นวัตถุโบราณทราบว่ามีโบราณสถานตั้งอยู่ในป่า ไม่มีใครเฝ้าดูแล จึงพากันมาขุดค้นหาของมีค่า ปราสาทขุมดินจึงถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์พวกนี้ และขนเอาของมีค่าต่างๆ ไปแทบหมดสิ้น ชาวบ้านต่างรู้กันดีว่าใครเป็นคนขุดทำลายปราสาทโบราณสาถนแห่งนี้ ได้ขนโบราณวัตถุโบราณไปมากมาย ครั้งหลังสุดได้มายกเอาแผ่นทับหลังขนาดใหญ่ 2 แผ่นออกไป ชาวบ้านเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้รถที่ขนโขมยทับหลังเกิดอุบัติเหตุรถเสียไม่สามารถวิ่งต่อได้ จึงได้บวงสรวงเซ่นไหว้ว่าจะนำทับหลังคืนกลัีบไปเก็บไว้ที่เดิม รถจึงสามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ปัจจุบันโบราณสถานปราสาทขุมดิน ยังหลงเหลือพระพุทธรูปบูชาองค์เล็กหลายองค์ ในความดูแลของท่านพระครูศรีปริยัติวราภรณ์ รองเจ้าคณะอำเภอรัตนบุรี เจ้าอาวาสวัดปราสาทขุมดิน ซึ่งเป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในภายหลัง ติดกับปราสาทขุมดิน และทางวัดได้เข้ามาดูแลรักษาปราสาทแห่งนี้มากว่า 40 ปีแล้ว ปราสาทแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันสำคัญของท้องถิ่น และได้รับการกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลจากประชาชนทั้งในและนอกหมู่บ้านขุมดิน
โบราณสถาน ปราสาทขุมดิน ได้รับการบูรณะฟื้นฟู ปรับปรุงเพื่อเป็นสถานที่สำคัญต่อไป ประกอบกับขณะนี้ ปราสาทขุมดิน อยู่ในเขตตำบลหนองหลวง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของอำเภอโนนนารายณ์ และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโนนนารายณ์ประมาณ 4 กิโลเมตร
ดู ปราสาทขุมดิน ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. บ้านขุมดิน หมู่ที่ 4 ต.หนองหลวง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
2. วัดปราสาทขุมดิน บ้านขุมดิน ต.หนองหลวง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น