วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

เมืองรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ประวัติเมืองรัตนบุรี
เมืองนครเตา หรือเมืองรัตนบุรี เดิมเป็นหมู่บ้าน ชื่อว่า “บ้านบุ่งหวาย หรือ บ้านหวาย”  เนื่องจากบริเวณนี้มีหวายมากจนชาวบ้านในแถบนั้น ได้นำหวายไปทำประโยชน์ในครัวเรือน คำว่า บุ่ง เป็นภาษาพื้นบ้านในครั้งนั้น หมายถึงที่ๆ มีน้ำซึมออกมาตลอดเวลา อยู่ทางทิศเหนือของเมืองในปัจจุบัน  ชาวบ้านได้ใช้ทำนา  เมื่อมองเห็นเป็นทุ่งอันกว้างใหญ่ เรียกว่า บุ่ง มีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ในสมัยนั้น ได้แก่ เต่า เดินไปไหนมาไหน มักพบเต่าคลานอยู่ทั่วไป ก่อนตั้งหลักปักเมืองขึ้นมา พื้นที่ของเมืองเต่าเป็นที่อยู่ของพวกขอมสมัยเรืองอำนาจ เพราะปรากฏหลักฐานต่างๆ เช่น ปราสาทหิน พบได้ทั่วไปในอำเภอรัตนบุรี ได้แก่...
- ปราสาทบ้านธาตุ
- ปราสาทบ้านสนม
- ปราสาทบ้านขุมดิน

นอกจากนี้มีศิลาแลงจมอยู่ในที่หลายแห่ง ที่...
- บ้านดงเปือย ตำบลแก
- บ้านม่วงบุญมี ตำบลแก
- บ้านกางเก่า ตำบลแก
- บ้านโกส้ม ตำบลน้ำเขียว
- บ้านคอนสวรรค์ ตำบลไผ่

ปราสาทเหล่านี้สันนิษฐานว่า คงจะมีอายุใกล้เคียงกับสมัยที่สร้างปราสาทหินพิมาย หรือ สร้างเขาพนมรุ้งนครธมที่ขอมหายสาบสูญจากพื้นที่แห่งนี้ อาจสืบเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ คือ

ประการแรก ภัยสงครามถูกชาติอื่นรุกรานล้ำเขตแดนตนก็ได้
ประการที่ 2 ภัยธรรมชาติเกิดฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงอพยพไปหากินในที่อื่นที่อุดมสมบูรณ์กว่า
ประการที่ 3 เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในสมัยโบราณ จะมีโรคหนึ่ง ชื่อว่าโรคห่า เกิดขึ้น ทำให้อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น จึงเกิดการรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน ต่อมาจึงมีพวกลาวที่มีภาษาอพยพมาอยู่แทนที่ พวกนี้เรียกว่า ลัวะ หรือ ละว้า พอมารวมกันเข้าจึงเรียกตนเองว่า ลาวเหนือ ลาวกลาง ลาวใต้ ส่วนอำเภอรัตนบุรี แขวงจังหวัดสุรินทร์นั้น มีอาณาเขต อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เป็นพวกลาวใต้ แขวงเมืองอัตบือ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน กล่าวเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ มีอยู่ 6 พวก คือ พวกที่มาตั้งทัพอยู่ที่บ้านด่าน กิ่งบ้านด่าน จังหวัดร้อยเอ็ด เรียกว่า ด่านจีเนีย ภายหลังลาวพวกนี้เรียกตนเองว่า ส่วย คำว่า ส่วย เป็นภาษาลาวเดิมว่า ส่อย ตรงกับภาษาไทยว่า ช่วย คือลาวพวกนี้จะช่วยเหลือในการรบเก่ง มีความชำนาญในการรบ ยิงหน้าไม้ ธนูเก่ง ลูกดอกที่ใช้เป็นอาวุธจะอาบยาพิษเรียกว่า หน่อง พวกนี้จะกระจัดกระจายเป็นพวกเป็นเหล่าก่อนพวกละว้า หรือลัวะจะเข้ามาครอบครองจังหวัดสุรินทร์ คืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน ปรากฏตามหนังสือหลายเล่มว่า แผ่นดินตอนนี้เรียกว่า แคว้นเจนละบก หรือแคว้นภูนัน คือ เมื่อประมาณ 2,000 ปีขึ้นไป พวกเจนละบก ได้แก่ พวกเขมรกับพวกขอมปนกัน (ชาติผิวดำ) มีเจ้าเมืองปกครองชื่อ พระเจ้าจิตตะเสนเจนละบก จะมีเมืองหลวงอยู่แห่งใดนั้นไม่ปรากฏชัด กล่าวในความหมายโดยรวมไว้ในเขตจังหวัดสุรินทร์เป็นแคว้นเจนละบก หรือ ภูนัน ตามความเข้าใจเป็นอัตตามสันนิษฐานว่าคงจะมีเมืองหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ เพราะมีหลักฐานที่จะสันนิษฐานได้ คือ กำแพงเมืองอยู่ล้อมรอบเป็นเชิงเทิน อยู่จนทุกวันนี้

ภายหลังมีพวกลัวะ ละว้า หรือลาว เข้ายึด แคว้นเจนละบกก็ถูกทอดทิ้งให้เป็นป่าร้างอยู่เป็นเวลานาน ประมาณ 2,260 ปี จึงมีคนอีก 6 พวก เข้ามายึดครองจากอัตปือภาคใต้ของประเทศลาวเดี๋ยวนี้ เข้ามาทำมาหากิน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า ส่วย กวย หรือกุย หรือกูย ที่อาศัยในเมืองอัตปือแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112) พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างมาเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้ามาสู่ฝั่งขวา เมื่อ ปี พ.ศ. 2260 โดยแยกกันหลายพวกมีหัวหน้าควบคุมมา และมาตั้งหลักฐาน ดังนี้

พวกที่ 1 มาตั้งหลักฐานที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ต.เมืองที จ.สุรินทร์) หัวหน้าชื่อเชียงปุม
พวกที่ 2 มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดหวาย บุ่งหวาย หรือเมืองเตา (อ.รัตนบุรี ในปัจจุบัน)


เมืองรัตนบุรี ได้ปรากฏเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงการปกครองเมืองนครราชสีมา และเมืองก็อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมาหลายครั้ง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อประมาณ พ.ศ.2200 มีชาวกวย กลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป (แสนปาง) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ฝั่งขวาแล้วเดินเลี่ยงตามเชิงเขาพนมดงรักมาทางฝั่งทิศเหนือ ไปทางทิศตะวันตก จนมาถึงดินแดนเมืองรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์) แล้วแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ คือ

พวกที่ 1 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคก เมืองเต่า หรือบ้านกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสี หรือตากะฮาม
พวกที่ 2 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองทีอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
พวกที่ 3 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะ และเชียงขัน
พวกที่ 4 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
พวกที่ 5 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านโคกอัจจะ หรือโคกดงยาง (เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
พวกที่ 6 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดผไท (บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์) มีเชียงชัย เป็นหัวหน้า

เมืองอัตปือ เดิมเรียกว่าบ้านทุ่งอัตกระบือ หรืออัตกระบือ เป็นเมืองสำคัญหนึ่งอยู่ในเขตลาว ตั้งอยู่ฝั่งโขงตะวันออก ยกฐานะเป็นเมืองอัตกระบือในสมัยกรุงธนบุรี ปัจจุบันเรียกว่า เมือง อัตปือ ด้านการปกครองนั้นขึ้นอยู่กับจำปาศักดิ์ ชื่อเสียงของเมืองอัตปือมีชื่อเสียงด้านมีช้างชุกชุม และคนพื้นเมืองมีความสามารถพิเศษในการจับช้าง หัวหน้าผู้อาวุโส เป็นผู้ปกครองทำนองพ่อบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน ไม่ขึ้นแก่ใครในช่วงนั้นซึ่งปกครองกันเองอย่างเป็นอิสระมีอาชีพในการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาดำในพื้นที่ลุ่มรอบ ๆ หมู่บ้าน

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ครองกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงหนีออกจากเมืองหลวงเข้าป่าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ โปรดเกล้าให้สองพี่น้อง เป็นหัวหน้ากับไพร่พล 30 นาย ออกติดตามคณะติดตามได้รับคำแนะนำจากเจ้าเมืองพิมายว่า มีพวกกวยซึ่งชำนาญในการจับช้างตามหลักตำราคชศาสตร์ ซึ่งได้พากันไปติดตามช้างจนจับช้างได้โดยความช่วยเหลือจากหัวหน้าหมู่บ้านกวย หลังจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านกวยติดตามและไปส่งจนถึงกรุงศรีอยุธยา สองพี่น้องกราบทูลถึงการที่สามารถจับช้างเผือกเพราะได้รับความช่วยเหลือจากพวกหัวหน้าหมู่บ้านกวย

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้รับความบอบช้ำ ต้องเสียกรุงและไพร่พลเมืองตลอดจนพม่าได้ทำการเผาผลาญและทำลายบ้านเมืองไม่ยอมยั้งมือ ทำให้ยากแก่การปฏิสังขรณ์บูรณะเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระยาวชิรปราการ ขณะนั้น) ทรงพิจารณาเมืองธนบุรีแล้ว ทรงเห็นว่าเมืองธนบุรีเหมาะสมมากกว่าหลายประการคือ เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไร่พลของพระองค์ในขณะนั้น เป็นเมืองหน้าด่าน สามารถป้องกันไม่ให้ชุมชน ใหญ่ ๆ อย่างชุมชนพระยาพิษณุโลก ชุมชนเจ้าพระยาฝางติดต่อซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์จากชาวต่างประเทศได้โดยสะดวก และข้อสำคัญที่สุดก็คือ หากป้องกันเมืองธนบุรีไว้ไม่ได้แล้วก็อาจจะล่าถอย ไปตั้งหลักที่เมืองจันทบุรีได้อีกด้วย 1 และพระยาวชิรปราการจำพระทัยปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ประชาชนทั่วไปขนานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตาก พ.ศ.2310 และทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานี มีนามว่า กรุงธนบุรีศรีสินทรมหาสมุทร

พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองพิมาย โดยให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังจากเมือง  ปะทายสมันต์ เ  มืองขุขันธ์   เมืองสังขะ  เมืองรัตนบุรีเพื่อยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ แล้วตั้งให้พระยาสุโพ เป็นผู้รั้งเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง รวมทั้งคุมเอาตัวพระเจ้าองค์หลวง (คือ เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร) ยกกองทัพล้อมมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเลื่อนเจ้าเมืองทั้ง 3 เมือง คือ ขุขันธ์ สังฆะ สุรินทร์ ขึ้นเป็นตำแหน่ง “พระยา”

พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบโดยเกณฑ์กำลังจาก เมืองขุขันธ์ ปะทายสมันต์ สังขะ สมทบกับทัพหลวง ไปตีเมืองกำพงสวาย เมืองบรรทายเพชร เมืองบรรทายมาศ เมืองซูงตำแรย์ (ถ้ำช้าง) ในช่วงนั้นเป็นระยะเวลาในช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี














































ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " อ.รัตนบุรี "
2. ผลการค้นหา คำค้น " เมืองที "
3. ผลการค้นหา คำค้น " สังขะ "
4. ผลการค้นหา คำค้น " จอมพระ "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น