ศาลหลักเมือง สุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์
ประวัติ และความเป็นมา
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญ และเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517
พ.ศ. 2513 นายสอง (สองเมือง) ศรีสุรินทร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ทรุดโทรมมาก จึงได้รับเป็นผู้จัดหาเงิน โดยได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา โดยการฝึกเด็กหนุ่มในจังหวัดสุรินทร์ เล่นสิงห์โต ออกเล่นคาราวะชาวบ้านในจังหวัด และอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอรับบริจาคจนเพียงพอกับการก่อสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
และต่อมาได้พัฒนารูปแบบศาลหลักเมือง ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบเขมรและไทยเข้าด้วยกันอย่างสวยงาม แลดูใหญ่โตอลังการ ดังภาพในปัจจุบัน (อ้างอิง : 7 ม.ค. 2555)
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสังขะ บ้านสังขะ ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์
2. ขุดพบ พระพุทธรูป เทวรูป ที่ศาลหลักเมืองจารพัต บ้านจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
3. ศาลหลักบ้าน บ้านโนนเปือย ต.โพนโก อ.สนม จ.สุรินทร์
ประวัติ และความเป็นมา
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญ และเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517
พ.ศ. 2513 นายสอง (สองเมือง) ศรีสุรินทร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ทรุดโทรมมาก จึงได้รับเป็นผู้จัดหาเงิน โดยได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา โดยการฝึกเด็กหนุ่มในจังหวัดสุรินทร์ เล่นสิงห์โต ออกเล่นคาราวะชาวบ้านในจังหวัด และอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอรับบริจาคจนเพียงพอกับการก่อสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
และต่อมาได้พัฒนารูปแบบศาลหลักเมือง ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบเขมรและไทยเข้าด้วยกันอย่างสวยงาม แลดูใหญ่โตอลังการ ดังภาพในปัจจุบัน (อ้างอิง : 7 ม.ค. 2555)
ภาพบน และล่าง : เสาหลักเมือง สุรินทร์
ดู ศาลหลักเมือง สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสังขะ บ้านสังขะ ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์
2. ขุดพบ พระพุทธรูป เทวรูป ที่ศาลหลักเมืองจารพัต บ้านจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
3. ศาลหลักบ้าน บ้านโนนเปือย ต.โพนโก อ.สนม จ.สุรินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น