โรงเรียนบ้านนาดี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติและความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านนาดี ก่อตั้งเมื่อใดไม่ปรากฏชัดคาดว่าราว พ.ศ. 2458 โดยอาศัยศาลาวัดบ้านนาดีเป็นที่เริ่มเรียน โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลสนม 2 (วัดบ้านนาดี) โดยมีนายพลอย ไม่ปรากฏนามสกุลเป็นครูใหญ่คนแรก
โรงเรียนเคยล้มเลิกไประยะหนึ่ง เนื่องจากขาดเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะนั้นนายเสน จิตหนักแน่น เป็นครูใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ.2475 ได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นอีก โดยมีนายสังข์ จำลอง เป็นครูใหญ่ ร่วมกับประชาชน พระภิกษุสามเณรสร้างศาลาขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุดและใช้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านนาดี
พ.ศ. 2509 สมัยนายดำ ไกรสูรย์ เป็นครูใหญ่ ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าประชาชนมากขึ้น จำนวนเด็กที่จะเข้าเรียนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ประกอบกับศาลาวัดเดิมที่ใช้อาศัยเรียนทรุดโทรมและคับแคบไม่พอกับจำนวนนักเรียน จึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 55,000 บาท และราษฎรบริจาคสมทบ 5,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนที่เป็นเอกเทศขึ้นในที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่ของโรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่ 27 ไร่ 44 ตารางวา ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2509 สอนชั้น ป.1 - ป.4 ใช้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านนาดี
พ.ศ. 2512 นายไสว จันทร์สุวรรณ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนชั้น ป.1 - ป.7 (ประถมศึกษาตอนปลาย)
พ.ศ. 2518 ทางราชการเลือกเป็นโรงเรียนชุมชนของกรมการปกครอง
พ.ศ. 2521 สอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 คือเปิดสอนชั้น ป.1 - ป.6
พ.ศ. 2526 เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก
พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนศูนย์กลางกลุ่ม เป็นศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนหนองระฆัง
พ.ศ. 2530 เปิดสอนชั้นอนุบาล
พ.ศ. 2531 สร้างอาคาร สปช.105/ 29 ขนาด 3 ห้องเรียน แทนอาคารเรียน ป.1ช ที่ประสบวาตภัย
พ.ศ. 2537 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 61 คน
พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้กำหนดตำแหน่งผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ. 2553 โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีนายชวลิต โพธิ์เงิน เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองของประชาชนในเขตบริการโรงเรียนบ้านนาดี สรุปได้ดังต่อไปนี้
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของประชาชน ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ คือ ส่วยประมาณ ร้อยละ 70 ลาวประมาณ ร้อยละ 25 ชาติพันธุ์อื่นประมาณ ร้อยละ 5 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมจึงมีความหลากหลายตามแต่ละชาติพันธุ์ แต่สามารถอาศัย อยู่รวมกันอย่างกลมกลืนลักษณะอุปนิสัยใจคอของประชากรจึงมีความเอื้ออาทร เสียสละ ขยัน ซื่อสัตย์ รักท้องถิ่นบ้านเกิดและมีวิถีชีวิตการดำรงชีวิตแบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชาชนในเขตบริการ
โรงเรียนบ้านนาดี จะตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามสืบทอดกันมา มีความรักเคารพในระบบอาวุโสตามจารีตประเพณีดั้งเดิม
สภาพเศรษฐกิจ สภาพความเป็นอยู่ของประชากรในเขตบริการโรงเรียนบ้านนาดี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวนยางพารา การเลี้ยงสัตว์ และอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยของประชากรโดยภาพรวม ประมาณ 13,680 บาท / คน / ปี ส่วนคุณภาพของประชาชนยังมีทักษะการคิดวิเคราะห์ไม่เพียงพอ ขาดทักษะการจัดการที่ดี ยังไม่รักการอ่าน และการเรียนรู้เท่าที่ควรมีนิสัยประหยัด เก็บออมไม่เพียงพอ รวมทั้งความสามารถด้านการสื่อสาร ภาษาต่างประเทศ และความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับต่ำ
สภาพของโรงเรียนและนักเรียน โดยภาพรวมโรงเรียนยังขาดแคลนสื่อ โดยเน้นสื่อที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ โรงเรียนและชุมชนส่วนมากอยากพัฒนางานมุ่งสู่คุณภาพตามทิศทางของสังคม แต่มีข้อมูลสารสนเทศไม่เพียงพอ มีสื่อต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยภาพรวมของการประเมินภายนอก โรงเรียนต้องปรับปรุงมาตรฐานด้านหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มาตรฐานด้านสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา และมาตรฐานด้านความรู้ และทักษะ ที่จำเป็นตามหลักสูตร
ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน โรงเรียนบ้านนาดีต้องพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงกับความต้องการและทันต่อการใช้ มีทิศทางการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล มีเป้าหมายและมีการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง มีการบันทึกและการรายงานผลการประเมินที่เป็นรูปธรรม และรายงานผลการประเมินที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงได้ ส่วนของการระดมสรรพกำลังและความร่วมมือร่วมใจเพื่อการจัดการศึกษาร่วมกันนั้น โรงเรียนบ้านนาดี มีการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษา และชุมชน ให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการศึกษาร่วมกันอย่างมีคุณภาพได้
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. หมู่บ้านนาดี ต.หนองระฆัง อ.สนม จ.สุรินทร์
2. ผลการค้นหา คำค้น " โรงเรียน "
ประวัติและความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านนาดี ก่อตั้งเมื่อใดไม่ปรากฏชัดคาดว่าราว พ.ศ. 2458 โดยอาศัยศาลาวัดบ้านนาดีเป็นที่เริ่มเรียน โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลสนม 2 (วัดบ้านนาดี) โดยมีนายพลอย ไม่ปรากฏนามสกุลเป็นครูใหญ่คนแรก
โรงเรียนเคยล้มเลิกไประยะหนึ่ง เนื่องจากขาดเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะนั้นนายเสน จิตหนักแน่น เป็นครูใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ.2475 ได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นอีก โดยมีนายสังข์ จำลอง เป็นครูใหญ่ ร่วมกับประชาชน พระภิกษุสามเณรสร้างศาลาขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุดและใช้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านนาดี
พ.ศ. 2509 สมัยนายดำ ไกรสูรย์ เป็นครูใหญ่ ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าประชาชนมากขึ้น จำนวนเด็กที่จะเข้าเรียนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ประกอบกับศาลาวัดเดิมที่ใช้อาศัยเรียนทรุดโทรมและคับแคบไม่พอกับจำนวนนักเรียน จึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 55,000 บาท และราษฎรบริจาคสมทบ 5,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนที่เป็นเอกเทศขึ้นในที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่ของโรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่ 27 ไร่ 44 ตารางวา ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2509 สอนชั้น ป.1 - ป.4 ใช้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านนาดี
พ.ศ. 2512 นายไสว จันทร์สุวรรณ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนชั้น ป.1 - ป.7 (ประถมศึกษาตอนปลาย)
พ.ศ. 2518 ทางราชการเลือกเป็นโรงเรียนชุมชนของกรมการปกครอง
พ.ศ. 2521 สอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 คือเปิดสอนชั้น ป.1 - ป.6
พ.ศ. 2526 เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก
พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนศูนย์กลางกลุ่ม เป็นศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนหนองระฆัง
พ.ศ. 2530 เปิดสอนชั้นอนุบาล
พ.ศ. 2531 สร้างอาคาร สปช.105/ 29 ขนาด 3 ห้องเรียน แทนอาคารเรียน ป.1ช ที่ประสบวาตภัย
พ.ศ. 2537 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 61 คน
พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้กำหนดตำแหน่งผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ. 2553 โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีนายชวลิต โพธิ์เงิน เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองของประชาชนในเขตบริการโรงเรียนบ้านนาดี สรุปได้ดังต่อไปนี้
สภาพสังคมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของประชาชน ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ คือ ส่วยประมาณ ร้อยละ 70 ลาวประมาณ ร้อยละ 25 ชาติพันธุ์อื่นประมาณ ร้อยละ 5 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมจึงมีความหลากหลายตามแต่ละชาติพันธุ์ แต่สามารถอาศัย อยู่รวมกันอย่างกลมกลืนลักษณะอุปนิสัยใจคอของประชากรจึงมีความเอื้ออาทร เสียสละ ขยัน ซื่อสัตย์ รักท้องถิ่นบ้านเกิดและมีวิถีชีวิตการดำรงชีวิตแบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชาชนในเขตบริการ
โรงเรียนบ้านนาดี จะตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามสืบทอดกันมา มีความรักเคารพในระบบอาวุโสตามจารีตประเพณีดั้งเดิม
สภาพเศรษฐกิจ สภาพความเป็นอยู่ของประชากรในเขตบริการโรงเรียนบ้านนาดี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวนยางพารา การเลี้ยงสัตว์ และอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยของประชากรโดยภาพรวม ประมาณ 13,680 บาท / คน / ปี ส่วนคุณภาพของประชาชนยังมีทักษะการคิดวิเคราะห์ไม่เพียงพอ ขาดทักษะการจัดการที่ดี ยังไม่รักการอ่าน และการเรียนรู้เท่าที่ควรมีนิสัยประหยัด เก็บออมไม่เพียงพอ รวมทั้งความสามารถด้านการสื่อสาร ภาษาต่างประเทศ และความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับต่ำ
สภาพของโรงเรียนและนักเรียน โดยภาพรวมโรงเรียนยังขาดแคลนสื่อ โดยเน้นสื่อที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ โรงเรียนและชุมชนส่วนมากอยากพัฒนางานมุ่งสู่คุณภาพตามทิศทางของสังคม แต่มีข้อมูลสารสนเทศไม่เพียงพอ มีสื่อต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยภาพรวมของการประเมินภายนอก โรงเรียนต้องปรับปรุงมาตรฐานด้านหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มาตรฐานด้านสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา และมาตรฐานด้านความรู้ และทักษะ ที่จำเป็นตามหลักสูตร
ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน โรงเรียนบ้านนาดีต้องพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงกับความต้องการและทันต่อการใช้ มีทิศทางการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล มีเป้าหมายและมีการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง มีการบันทึกและการรายงานผลการประเมินที่เป็นรูปธรรม และรายงานผลการประเมินที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงได้ ส่วนของการระดมสรรพกำลังและความร่วมมือร่วมใจเพื่อการจัดการศึกษาร่วมกันนั้น โรงเรียนบ้านนาดี มีการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษา และชุมชน ให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการศึกษาร่วมกันอย่างมีคุณภาพได้
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. หมู่บ้านนาดี ต.หนองระฆัง อ.สนม จ.สุรินทร์
2. ผลการค้นหา คำค้น " โรงเรียน "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น