ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวจี่
1. ชาวบ้านนำข้าวเปลือกไปเทกองรวมกันที่วัดใกล้บ้าน เรียกว่า "กองพระทรายข้าว" หรือ "กองกระจายข้าว"2. ชาวบ้านทำข้าวจี่ ไปร่วมทำบุญตักบาตรที่วัด คล้ายกับการทำบุญในวันพระตามปกติ เพียงแต่มีข้าวจี่มาเป็นองค์ประกอบหลักของการทำบุญในวันดังกล่าว
3. ถวายข้าวเปลือกที่ได้ ให้กับทางวัด เพื่อประโยชน์ต่อไป...
4. ประชาชนเวียนเทียนร่วมกันที่วัดเวลาประมาณ 20.00 - 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย เนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือ "วันมาฆบูชา"
วิธีการทำข้าวจี่
ข้าวจี่ ทำมาจาก ข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปปั้นเป็นก้อนทรงกระบอกปลายกรวยทั้งสองข้าง มีรูตรงกลางทะลุตามแนวขนานของก้อนข้าว และยัดไส้ด้วยก้อนน้ำตาลอ้อย หรือก้อนน้ำตาลปึก ปัจจุบัน (อ้างอิง : 23 ก.พ. 54) พบว่า...น้ำตาลอ้อย และน้ำตาลปึก ที่ใช้ยัดไส้ข้าวเหนียวมีปริมาณน้อย เทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน โดย..ประดับก้อนน้ำตาลไว้ที่ปากรูก้อนข้าวเหนียวทั้งสองข้างเป็นส่วนใหญ่ และนำก้อนข้าวเหนียวที่ยัดไส้น้ำตาลแล้วไปชะโลม หรือทา ด้วยไข่แดง แล้วนำไปย่างไฟอ่อนๆ จนไข่สุกออกสีเหลือง บ้างก็เลยไป...ออกสีน้ำตาลเล็กน้อย
ภาพบน : วัดธาตุ บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์
ภาพล่าง : พุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุญข้าวจี่ที่วัดธาตุ
ภาพบน และล่าง : ข้าวจี่
ภาพบน และล่าง : กองพระทรายข้าว หรือ กองกระจายข้าว
ดู วัดธาตุ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น