วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จดทะเบียนสมรส วันวาเลนไทน์

นายวัชรินทร์  รัตนบรรณกิจ นายอำเภอสนม มอบใบสำคัญการสมรส ให้กับคู่รักที่มาจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนมาตรฐาน ที่ว่าการอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ เนื่องในวันสำคัญนิยม "วันวาเลนไทน์" พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการอำเภอสนมร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับ "วันวาเลนไทน์"
วันวาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึง นักบุญเซนต์ วาเลนไทน์ (Saint Valentine) ผู้เปี่ยมไปด้วยความรัก และความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่เขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือเมื่อประมาณ 1,733 ปีล่วงเลยมาแล้ว ในจักรวรรดิโรมัน

ประวัติความเป็นมาของเรื่องนี้ เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 3 มีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ "วาเลนตินัส" เขาเป็นคนที่มีความรัก และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มาก โดยทุกๆ วันเขาจะแอบนำอาหาร และของใช้ที่จำเป็น ไปวางไว้ประตูหน้าบ้านของคนยากจนโดยไม่ให้คนเหล่านั้นรู้ ซึ่งในสมัยนั้นศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในจักรวรรดิโรมัน และถือว่าใครที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมีความผิดร้ายแรงมาก พวกคริสเตียนจึงถูกข่มเหง และทารุณกรรมอย่างหนักเพื่อบังคับให้เลิกเป็นคริสเตียน ใครที่ไม่ยอมเลิกนับถือคริสต์จะถูกทรมาน และฆ่าทิ้ง วาเลนตินัส ก็รวมอยู่ในกลุ่มขบวนการถูกขู่เข็ญ และทรมานบังคับให้เลิกนับถือศาสนาคริสต์ แต่เขาไม่ยอมจึงถูกจับเข้าคุก ในข้อหาเป็นคริสเตียน

ในขณะที่เขาถูกจับขังคุกนั้น ก็พบรักกับสาวตาบอดซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในนั้น และด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของคนรักของเขาซึ่งเธอตาบอด หายเป็นปกติ จากเหตุการณ์นี้เองจึงทำให้ผู้คุม และครอบครัวของเขาหันมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อความนี้เองรู้ถึงจักพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ของโรม พระองค์ทรงกริ้วมาก สั่งให้ลงโทษวาเลนตินัส อย่างหนักด้วยการโบย และนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ

ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น เขาได้เขียนจดหมายสั้นๆ เป็นการอำลาส่งไปให้หญิงคนรัก ของเขา และลงท้ายในจดหมายว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ" รุ่งขึ้นของเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 วาเลนตินัส ถูกนำไปตัดศีรษะ และเอาศพไปฝังไว้ที่เฟลมิเนี่ยนเวย์ซึ่งภายหลังมีการสร้างโบสถ์หลังใหญ่คร่อมสุสานของเขาไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงชีวิต และความรักอันยิ่งใหญ่ของเขา คนทั่วไปประทับใจกับความรักของเขาจึงยึดถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันวาเลนไทน์" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Saint Valentine's Day หรือ Valentine's Day หรือวันแห่งความรัก ซึ่งต่อมาได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรป และอเมริกา และเข้ามาในทวีปเอเชียด้วย

การให้ดอกกุหลาบ "วันวาเลนไทน์"
กุหลาบมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว จึงทำให้ความสวยงามของดอก และกลิ่นอันชวนพิสมัยของราชินีแห่งดอกไม้นี้เป็นที่เลื่องลือมาช้านาน และล้วนกล่าวถึงความงามเป็นสื่อที่แสดงถึงความสุข ความมีไมตรีจิต ความน่ารักความสวยงาม การบูชา และการเกี้ยวพาราสี ดังนั้น กุหลาบ จึงเป็นเสมือนตัวแทนแห่งความรัก และความอมตะจนมีตำนานกล่าวขานกันต่างๆ นานา ตั้งแต่สมัยกรีก ตำนานเล่าว่า "คลอรีส" เทพธิดาแห่งดอกไม้ ได้บันดาลให้ร่างของนางไม้กลายเป็นกุหลาบ และยกให้เป็นราชินีของดอกไม้ จากนั้นต่อมาก็มีการมอบดอกกุหลาบแก่ "อีรอส" ลูกชาย ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก

ส่วนในศาสนาคริสต์เชื่อกันว่า ในสมัยที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนอยู่นั้น พระโลหิตได้ไหลหยดลงบนต้นหญ้ามอสส์ และได้บังเกิดเป็นต้นกุหลาบที่มีดอกสีแดงสด จึงมีการเรียกขานกุหลาบชนิดนี้ว่า "กุหลาบมอสส์" นอกจากนี้ยังมีการสู้รบกันระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ คือ ราชวงศ์ยอร์ค ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นดอกกุหลาบขาว และราชวงศ์แลงแคสเตอร์ ใช้ดอกกุหลาบแดงเป็นสัญลักษณ์ และได้เรียกสงครามครั้งนี้ว่า "สงครามกุหลาบ" ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1948 - 2028 และในสมัยต่อมาพวกกุหลาบแดงได้มาแต่งงานกับพวกกุหลาบขาว ซึ่งในปัจจุบันกุหลาบได้ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของชาวอังกฤษ

ความงดงามของดอกกุหลาบที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์
ของพระมหาธีราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ในเรื่อง "มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานดอกกุหลาบ" ซึ่งได้ปรากฏชัดว่าดอกกุหลาบได้กลายเป็นดอกไม้ที่นิยมไปทั่วโลก

ด้วยความโดดเด่นของรูปโฉมอันพิลาส กอปรกับกลิ่นหอมที่มีเสน่ห์เย้ายวนชวนให้น่าหลงไหล กุหลาบจึงเป็นดอกไม้ที่นิยมมาตั้งแต่อดีตกาล โดยสันนิษฐานว่า กุหลาบถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัย Taceous หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว โดยดูได้จากซากฟอสซิลที่ขุดพบโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดแน่นอนจะอยู่ในราว 5,000 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัย สุเมเรียน (Sumerians) โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดค้นพบน้ำที่มีกลิ่นกุหลาบในหลุม ศพของกษัตริย์ในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องประดับของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีรูปทรงเป็นดอกกุหลาบทำด้วยทองคำ

แต่ในบางแหล่งได้กล่าวไว้ว่า กุหลาบมีกำเนิด ณ เทือกเขาคอเคซัส ประเทศเปอร์เซีย หรืออิหร่านในปัจจุบัน และมีชื่อเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "คุล" Gol หรือ Gul ซึ่งแปลว่า ดอกไม้ และคำว่า "คุลาพ" หมายถึง กุหลาบอย่างที่คนไทยเราเรียกกัน

สำหรับประเทศไทยไม่ทราบแน่ชัดว่า มีกุหลาบมาตั้งแต่สมัยใด หากแต่มีการบันทึกของราชทูตฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าได้เห็นดอกกุหลาบอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และอีกหลายแห่งที่ปรากฎหลักฐานว่ามีกุหลาบเข้ามาเมืองไทยแล้ว คือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ที่ได้กล่าวถึงความงามของดอกกุหลาบไว้ด้วย

รูปร่าง และสีสันของดอกกุหลาบ
ดอกกุหลาบนั้นทั้งลักษณะ และสีสันของมันสามารถสื่อความหมายถึงคนที่เรามอบให้ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจความหมายถึงที่มา "ภาษาดอกไม้" ซึ่งดอกกุหลาบแต่ละแบบ แต่ละสี สื่อความหมายไว้แตกต่างกันไป ดังนี้

กุหลาบแดง หมายถึง ความรัก และความปรารถนา เป็นดอกไม้ของคิวปิด และอีรอส (กามเทพ) เป็นสิ่งนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับ


กุหลาบขาว หมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ ความเงียบสงบ และนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับเช่นเดียวกับดอกกุหลาบแดง


กุหลาบสีชมพู หมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่สุด

กุหลาบสีเหลืองหรือสีส้ม หมายถึง ความรักร้อนแรง และยาวนาน ไม่จืดจาง หวานชื่น และมีความสุข



กุหลาบตูม หมายถึง ความรัก และความเยาว์วัย


กุหลาบบาน หมายถึง ความรักที่กำลังเบ่งบาน ความอ่อนหวาน สดชื่น


การให้ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ตามแบบประเพณีของหนุ่ม - สาวชาวชาวญี่ปุ่น จะแตกต่างจากชาติอื่นๆ คือ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือ "วันวาเลนไทน์" สาวๆ จะเป็นคนให้ ช็อกโกเลต (Chocolate) รูปหัวใจขนาดเล็ก - ใหญ่ แล้วแต่ความชอบน้อย  -มาก  ที่ตัวเองทำเองแก่หนุ่มๆ ที่เธอชอบ หลังจากวันนั้นอีกหนึ่งเดือน คือ วันที่ 14 มีนาคม หนุ่มๆ ก็จะมอบดอกกุหลาบ เพื่อเป็นการขอบคุณสาวผู้ให้


















ดู ที่ว่าการอำเภอสนม (จังหวัดสุรินทร์) ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น