วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด)
สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1984 หรือ พ.ศ. 2527 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ การเดินทางจากศรีสะเกษไปอำเภอขุนหาญสามารถใช้เส้นทาง หมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุนหาญระยะทางประมาณ 70 กม. สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค นับเป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก
ที่วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือที่ชาวบ้านในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษรู้จักกันดีในชื่อวัดล้านขวดที่เขาเรียกกันแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า สถานที่ต่างๆ ภายในวัดล้วนแต่ถูกประดับประดาด้วยขวดจำนวนมากถึง 1,500,000 ขวด
เริ่มตั้งแต่ทางเข้าวัดทั้งกำแพงซุ้ม ประตูโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิ หรือแม้แต่ห้องน้ำ ก็ยังถูกตบแต่งด้วยขวดเช่นกัน
นอกจากความงดงามแปลกตาของขวดที่สลับสี และการวางลวดลายแล้ว เรา ยังทึ่งกับความคิดในการนำฝาขวดมาปะติดจนได้เป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่เหมือนที่ ใดอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เกิด จากความคิดของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่หลอด ท่านบอกว่า การนำขวดมาตกแต่งนั้น นอกจากจะประหยัดในเรื่องของการทาสีแล้ว ที่สำคัญขวดแก้วนั้นแฝงไปด้วยคติ ไม่ว่าจะคว่ำลง หงายขึ้น หรือวางในแนวนอน ความใสของแก้ว เมื่อกระทบแสงแดดแล้ว ทำให้เกิดแสงสว่างเหมือนแสงธรรมที่ควรบรรลุถึง
วัดล้านขวด มีพื้นที่ทั้งหมดรวม 18 ไร่ 3 งาน โดยพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือ หลวงปู่ลอด ถิรคุโณ เป็นผู้ริเริ่ม บริเวณแห่งนี้เดิมเป็นป้าช้าสาธารณะของหมู่บ้านในละแวกนี้ ใช้เป็นที่ฝังศพและเผาศพ ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่งและมีเถาวัลย์ขึ้นปกคลุม มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น ยางนา สะแบง ตะเคียน บาก ประดู่ โพธิ์
จุดเริ่มต้นปี พ.ศ.2525 หลวงปู่ลอด ถิรคุโณ ได้แสวงหาสถานที่ที่มีความวิเวกเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมจากป่าช้าบ้านกระเจาเข้ามาพักปักกรด ณ ป่าช้าหนองใหญ่แห่งนี้ (วัดล้านขวด) หลวงปู่ได้นำคณะญาติโยมฝึกเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ต่อมาชาวบ้านเกิดความศรัทธาจึงได้ช่วยกันสร้างที่พักให้พระสงฆ์ จึงได้เริ่มอยู่จำพรรษาในปีนั้น สถานที่แห่งนี้จึงได้เริ่มพัฒนาเป็นที่พักสงฆ์ จนกระทั่งมาเป็นวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ.2533 ระยะเริ่มต้นของการก่อสร้างวัดไทยที่ใช้ขวดแก้วใช้แล้วนับล้านขวดในการก่อสร้างวัดทั้งวัด หลวงปู่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแต่อย่างใด เนื่องจากว่าบริเวณใกล้เคียงมีขยะจำพวกขวดอยู่มาก จึงคิดหาทางที่จะจัดการกับขยะเหล่านั้น และได้เห็นว่าสีต่างๆของขวดสามารถนำมาประดับตกแต่งได้อย่างสวยงาม และประหยัดงบประมาณค่าสี ค่ากระเบื้อง หลวงปู่จึงได้เก็บรวบรวมขวดจากหลายๆ ที่ จากหมู่บ้านในละแวกวัด และหมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อได้ขวดจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มก่อสร้างกุฏิพักสงฆ์หลังแรก
ต่อมาเมื่อวัดล้านขวดเป็นที่รู้จักทั่วไปโดยการบอกเล่าปากต่อปากจากชาวบ้าน และคนในจังหวัดใกล้เคียงก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่วัดจากทุกสารทิศ ต่างคนต่างก็บอกต่อให้นำขวดมาร่วมบริจาค เช่น ขวดเครื่องดื่มชูกำลังได้มาจากพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ กันทรลักษ์ ขุขันธ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ถ้าเป็นขวดเบียร์เขียวๆ ได้มาจาก ชลบุรี พัทยา มีทั้งใส่รถสิบล้อ รถหกล้อ รถกระบะปิคอัพ มาให้ ส่วนคนที่มาเที่ยวก็มีขวดติดมือมาบริจาค จากนั้นการก่อสร้างศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามก็เกิดขึ้น ตามด้วยกุฏิพักสงฆ์หลังต่อๆไปก็ทยอยเพิ่มขึ้น พระอุโบสถที่สร้างบนสระน้ำ หลังคาจัตุรมุข พระประธานในอุโบสถ คือ หลวงพ่อหยกขาว แกะสลักจากหยกขาวที่นำมาจากประเทศพม่า แกะสลักโดยช่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีความสวยงามเป็นหนึ่งไม่เหมือนที่ใด เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธทั่วไป หอฉัน ถังเก็บน้ำ เมรุเผาศพ ซุ้มประตูทางเข้าวัด ตลอดจนห้องน้ำ ล้วนเกิดจากขวดที่ใช้แล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีหลวงปู่ยังมีเจตนาที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นปริศนาธรรมให้กับญาติโยมได้พิจารณาว่า ขวดเกิดจากแก้ว คำว่าแก้วเป็นของดี ของล้ำค่า ไม่ว่าจะเอาไปทำอะไร หรือนำไปเป็นภาชนะบรรจุอะไร สิ่งที่เป็นแก้วก็ยังเป็นแก้วล้ำค่าอยู่เหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้น เป็นคติธรรมได้สอนใจญาติโยมว่า เมื่อมาวัดให้เข้าถึงวัด วัดจิตใจของตัวเอง ฝึกหัดขัดถูให้ใสเหมือนแก้ว เมื่อเป็นแก้วจะเอาไปทำอะไร ประดับอะไรจะเป็นสิ่งที่มีค่ามีราคาและสวยงามอยู่เสมอ
หลังจากสร้างวัดล้านขวดเสร็จเรียบร้อย ปรากฎว่า มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมวัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ทางวัดไม่ได้มีการเก็บเงินค่าเข้าชมแต่อย่างใด แต่จะมีตู้ไว้ให้นักท่องเที่ยวบริจาคเงินสมทบเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษาวัด
สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1984 หรือ พ.ศ. 2527 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ การเดินทางจากศรีสะเกษไปอำเภอขุนหาญสามารถใช้เส้นทาง หมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุนหาญระยะทางประมาณ 70 กม. สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค นับเป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก
ที่วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือที่ชาวบ้านในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษรู้จักกันดีในชื่อวัดล้านขวดที่เขาเรียกกันแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า สถานที่ต่างๆ ภายในวัดล้วนแต่ถูกประดับประดาด้วยขวดจำนวนมากถึง 1,500,000 ขวด
เริ่มตั้งแต่ทางเข้าวัดทั้งกำแพงซุ้ม ประตูโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิ หรือแม้แต่ห้องน้ำ ก็ยังถูกตบแต่งด้วยขวดเช่นกัน
นอกจากความงดงามแปลกตาของขวดที่สลับสี และการวางลวดลายแล้ว เรา ยังทึ่งกับความคิดในการนำฝาขวดมาปะติดจนได้เป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่เหมือนที่ ใดอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เกิด จากความคิดของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่หลอด ท่านบอกว่า การนำขวดมาตกแต่งนั้น นอกจากจะประหยัดในเรื่องของการทาสีแล้ว ที่สำคัญขวดแก้วนั้นแฝงไปด้วยคติ ไม่ว่าจะคว่ำลง หงายขึ้น หรือวางในแนวนอน ความใสของแก้ว เมื่อกระทบแสงแดดแล้ว ทำให้เกิดแสงสว่างเหมือนแสงธรรมที่ควรบรรลุถึง
วัดล้านขวด มีพื้นที่ทั้งหมดรวม 18 ไร่ 3 งาน โดยพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือ หลวงปู่ลอด ถิรคุโณ เป็นผู้ริเริ่ม บริเวณแห่งนี้เดิมเป็นป้าช้าสาธารณะของหมู่บ้านในละแวกนี้ ใช้เป็นที่ฝังศพและเผาศพ ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่งและมีเถาวัลย์ขึ้นปกคลุม มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น ยางนา สะแบง ตะเคียน บาก ประดู่ โพธิ์
จุดเริ่มต้นปี พ.ศ.2525 หลวงปู่ลอด ถิรคุโณ ได้แสวงหาสถานที่ที่มีความวิเวกเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมจากป่าช้าบ้านกระเจาเข้ามาพักปักกรด ณ ป่าช้าหนองใหญ่แห่งนี้ (วัดล้านขวด) หลวงปู่ได้นำคณะญาติโยมฝึกเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ต่อมาชาวบ้านเกิดความศรัทธาจึงได้ช่วยกันสร้างที่พักให้พระสงฆ์ จึงได้เริ่มอยู่จำพรรษาในปีนั้น สถานที่แห่งนี้จึงได้เริ่มพัฒนาเป็นที่พักสงฆ์ จนกระทั่งมาเป็นวัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ.2533 ระยะเริ่มต้นของการก่อสร้างวัดไทยที่ใช้ขวดแก้วใช้แล้วนับล้านขวดในการก่อสร้างวัดทั้งวัด หลวงปู่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแต่อย่างใด เนื่องจากว่าบริเวณใกล้เคียงมีขยะจำพวกขวดอยู่มาก จึงคิดหาทางที่จะจัดการกับขยะเหล่านั้น และได้เห็นว่าสีต่างๆของขวดสามารถนำมาประดับตกแต่งได้อย่างสวยงาม และประหยัดงบประมาณค่าสี ค่ากระเบื้อง หลวงปู่จึงได้เก็บรวบรวมขวดจากหลายๆ ที่ จากหมู่บ้านในละแวกวัด และหมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อได้ขวดจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มก่อสร้างกุฏิพักสงฆ์หลังแรก
ต่อมาเมื่อวัดล้านขวดเป็นที่รู้จักทั่วไปโดยการบอกเล่าปากต่อปากจากชาวบ้าน และคนในจังหวัดใกล้เคียงก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่วัดจากทุกสารทิศ ต่างคนต่างก็บอกต่อให้นำขวดมาร่วมบริจาค เช่น ขวดเครื่องดื่มชูกำลังได้มาจากพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ กันทรลักษ์ ขุขันธ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ถ้าเป็นขวดเบียร์เขียวๆ ได้มาจาก ชลบุรี พัทยา มีทั้งใส่รถสิบล้อ รถหกล้อ รถกระบะปิคอัพ มาให้ ส่วนคนที่มาเที่ยวก็มีขวดติดมือมาบริจาค จากนั้นการก่อสร้างศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามก็เกิดขึ้น ตามด้วยกุฏิพักสงฆ์หลังต่อๆไปก็ทยอยเพิ่มขึ้น พระอุโบสถที่สร้างบนสระน้ำ หลังคาจัตุรมุข พระประธานในอุโบสถ คือ หลวงพ่อหยกขาว แกะสลักจากหยกขาวที่นำมาจากประเทศพม่า แกะสลักโดยช่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีความสวยงามเป็นหนึ่งไม่เหมือนที่ใด เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธทั่วไป หอฉัน ถังเก็บน้ำ เมรุเผาศพ ซุ้มประตูทางเข้าวัด ตลอดจนห้องน้ำ ล้วนเกิดจากขวดที่ใช้แล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีหลวงปู่ยังมีเจตนาที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นปริศนาธรรมให้กับญาติโยมได้พิจารณาว่า ขวดเกิดจากแก้ว คำว่าแก้วเป็นของดี ของล้ำค่า ไม่ว่าจะเอาไปทำอะไร หรือนำไปเป็นภาชนะบรรจุอะไร สิ่งที่เป็นแก้วก็ยังเป็นแก้วล้ำค่าอยู่เหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้น เป็นคติธรรมได้สอนใจญาติโยมว่า เมื่อมาวัดให้เข้าถึงวัด วัดจิตใจของตัวเอง ฝึกหัดขัดถูให้ใสเหมือนแก้ว เมื่อเป็นแก้วจะเอาไปทำอะไร ประดับอะไรจะเป็นสิ่งที่มีค่ามีราคาและสวยงามอยู่เสมอ
หลังจากสร้างวัดล้านขวดเสร็จเรียบร้อย ปรากฎว่า มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมวัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ทางวัดไม่ได้มีการเก็บเงินค่าเข้าชมแต่อย่างใด แต่จะมีตู้ไว้ให้นักท่องเที่ยวบริจาคเงินสมทบเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษาวัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น