วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สิมวัดโพธิ์ศรี เชียงเหียน

ประวัติสิมวัดโพธิ์ศรี เชียงเหียน
วัดโพธิ์ศรี บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

วัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน  ชาวบ้านเรียกวัดบ้านเชียงเหียน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สำหรับสิม หรืออุโบสถสถานที่สำหรับทำสังฆกรรมของวัด จากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ และปราชญ์ชาวบ้านพบว่าได้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยไทบ้านได้ว่าจ้างองทองเป็นหัวหน้าช่าง เป็นผู้นำไทบ้านในการร่วมมือก่อสร้าง




วัสดุ และวิธีการก่อสร้าง
เป็นการทำงานร่วมกันขององทองกับไทบ้านเชียงเหียน ตั้งแต่ไปหาแหล่งดินที่จะนำมาทำก้อนอิฐ โดยไปหาตามนา บริเวณป่าแซงทางทิศเหนือของหมู่บ้าน หินปูนนั้นเมื่อนำมาเผาไฟจะแหลกเป็นผง แล้วนำมาผสมกับยางของต้นบง จะช่วยยึดประสานเกิดเป็นปูนฉาบที่ให้สีเป็นสีขาว ลักษณะสิมมีเพียงแค่ตัวอาคารอย่างเดียว แต่ก่อนยังไม่มีระเบียงปีกนกตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยทำเป็นโครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูน ใช้วัสดุในท้องถิ่นทั้งหมด ลักษณะเป็นสิมทึบก่ออิฐเป็นผนังรับน้ำหนัก มีหน้าต่างเล็กๆ สองด้าน

รูปทรงทางสถาปัตยกรรม
รูปทรงอาคารเป็นแบบพื้นบ้าน ทรงแอวขันบนฐานสี่เหลี่ยม ผนังก่อให้มีความลึกเกิดเป็นมิติทางรูปด้านอาคาร หลังคามุงด้วยแป้นไม้วางซ้อนกัน หลังคาทรงจั่วมีความลาดชันสูง จากนั้นปี พ.ศ. 2476 ได้ทำการว่าจ้างองทอง ต่อเติมหลังคาปีนกรอบสี่ด้าน หลังคาสิมเป็นทรงจั่วมะนิลาก่ออิฐรับโครงสร้างหลังคาทำเป็นผนังรับน้ำหนัก ออกแบบให้เป็นระบบอาร์คโค้ง มีช่องเปิดโค้งตามโครงสร้าง ซึ่งเป็นเทคนิคการก่อสร้างที่แพร่หลายของช่างชาวเวียดนามในอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส โดยมีการประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ รูปสัตว์ต่างๆ และลวดลายดอกไม้ ตามแบบฉบับช่างชาวบ้าน ต่อมาหลังคาแป้นไม้ได้ผุพังตามกาลเวลา จึงได้ทำการเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็นสังกะสี ปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอดีตผู้ใหญ่บ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน คือ นายบุรี ขัติยะวงศ์  ได้นำไทบ้านซ่อม ใบระกา และเชิงชายไม้ซึ่งผุพัง โดยยังคงรักษาลวดลายเครือเถาแบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยสิมหลังนี้ยังคงใช้งานรองรับกิจกรรมทางศาสนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน










ประวัติความเป็นมาของของบ้านเชียงเหียน

บ้านเชียงเหียนในปัจจุบันห รือที่เคยเป็นเมืองเชียงเหียนในอดีต ยังไม่มีหลักฐานที่พอจะ ยืนยันได้ว่าสร้างมาแต่เมื่อใด จากหลักฐานทางโบราณคดีก็พอสามารถยืนยันได้ว่า บริเวณพี้นที่ดินแห่งภาคอีสานเคยมีมนุษย์อาศัยมาช้านานแล้ว ได้มีการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การขุดคูนี้ คันดินล้อมรอบบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในขณะนั้น จึงเป็นที่พอจะกล่าวได้ว่า บริเวณนั้นที่แห่งนี้ได้มีชุมชนตั้งที่อยู่อาสัยมานานแล้วแต่ไม่สามารถระบุชัดลงไปเมื่อประมาณปีใด พ.ศ. ใดเท่านั้น

บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา เป็นเมืองโบราณ มีลักษณะ เป็นเนินสูงรูปไข่ คือ สูงตรงกลางมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะทำเลที่ตั้งที่ดี เมื่อฝนตก น้ำจะไหลลงสู่คูน้ำ และบึงที่อยู่รอบหมู่บ้านทุกบึง และจากทำเลที่ตั้งของบ้านเชียงเหียนดังกล่าวจึงมีความสอดคล้องกับลักษณะของเมืองในสมัยทวารวดีคือมักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมือง






ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " บ้านเชียงเหียน "
2. ผลการค้นหา คำค้น " มหาสารคาม "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น