ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การเดินทางจากจังหวัดร้อยเอ็ด ตามทางหลวงสาย 23 หรือสายร้อยเอ็ด-ยโสธร ประมาณ 10 กม. ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้าม มีทางลูกรังแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กม. หรือใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-โพนทอง ทางหลวงสาย 2044 ไปประมาณ 8 กม. มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กม. (เส้นทางนี้สะดวกกว่าเส้นทางแรก)
ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18
ปรางค์กู่ สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์ประธาน มีกำแพงล้อมรอบ ที่มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระอยู่ด้านหน้า มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือบรรณาลัย มีสระน้ำ กรุด้วยศิลาแลง
พ.ศ. 2534 กรมศิลปากรได้บูรณะ ค้นพบทับหลังที่ปรางค์ประธาน สลักเป็นรูปคนขี่หลังช้าง มีความหมายว่า พระอินทร์ทรง (แปลว่า ขี่) ช้างเอราวัณ และพบเสา กรอบประตูทำด้วยศิลาแลง และศิวลึงค์ขนาดใหญ่
สรุปได้ว่า ปรางค์กู่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาปวน ในลัทธิไศวนิกาย รูปแบบของอาคารอโรคยาศาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 172 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " กู่ "
2. ผลการค้นหา คำค้น " ปราสาท "
3. ผลการค้นหา คำค้น " ร้อยเอ็ด "
ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18
ปรางค์กู่ สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์ประธาน มีกำแพงล้อมรอบ ที่มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระอยู่ด้านหน้า มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือบรรณาลัย มีสระน้ำ กรุด้วยศิลาแลง
พ.ศ. 2534 กรมศิลปากรได้บูรณะ ค้นพบทับหลังที่ปรางค์ประธาน สลักเป็นรูปคนขี่หลังช้าง มีความหมายว่า พระอินทร์ทรง (แปลว่า ขี่) ช้างเอราวัณ และพบเสา กรอบประตูทำด้วยศิลาแลง และศิวลึงค์ขนาดใหญ่
สรุปได้ว่า ปรางค์กู่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาปวน ในลัทธิไศวนิกาย รูปแบบของอาคารอโรคยาศาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 172 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " กู่ "
2. ผลการค้นหา คำค้น " ปราสาท "
3. ผลการค้นหา คำค้น " ร้อยเอ็ด "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น