โบราณสถานกู่โพนระฆัง
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่ชายเนินด้านทิศตะวันออกของบ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานิเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗/๒ (ฉบับพิเศษ) หน้า ๒๖ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๑๗ ตารางวา
ประวัติการก่อสร้าง
กู่โพนระฆังเป็นศาสนสถานประเภท "อโรคยาศาล" หรือ "ศาสนสถานประจำโรงพยาบาล" รูปแบบศิลปะบายน คติพุทธมหายาน สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งราชอาณาจักรขอมโบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่โปรดให้สร้างขึ้นตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์อันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนมายอมรับนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างราชสำนักในเมืองพระนครแทนที่ศาสนาฮินดู
องค์ประกอบของโบราณสถาน
กู่โพนระฆังเป็นศาสนสถานสร้างด้วยหินศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก มีอิฐ และหินทรายเฉพาะในส่วนที่ต้องรับน้ำหนัก และแกะสลักลวดลาย
แผนผังประกอบด้วย
ปราสาทประธาน ๑ หลัง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัย ๑ หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีกำแพงแก้วก่อล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก ซึ่งตรงกับด้านหน้าของปราสาทประธาน เจาะเป็นห้องรูปกากบาทเป็นซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่าโคปุระ และมีลานทางเดินหินทรายเชื่อมจากหน้าปราสาทประธานถึงโคปุระ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " กู่ "
2. ผลการค้นหา คำค้น " ปราสาท "
3. ผลการค้นหา คำค้น " ร้อยเอ็ด "
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่ชายเนินด้านทิศตะวันออกของบ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานิเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗/๒ (ฉบับพิเศษ) หน้า ๒๖ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๑๗ ตารางวา
ประวัติการก่อสร้าง
กู่โพนระฆังเป็นศาสนสถานประเภท "อโรคยาศาล" หรือ "ศาสนสถานประจำโรงพยาบาล" รูปแบบศิลปะบายน คติพุทธมหายาน สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งราชอาณาจักรขอมโบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่โปรดให้สร้างขึ้นตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์อันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนมายอมรับนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างราชสำนักในเมืองพระนครแทนที่ศาสนาฮินดู
องค์ประกอบของโบราณสถาน
กู่โพนระฆังเป็นศาสนสถานสร้างด้วยหินศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก มีอิฐ และหินทรายเฉพาะในส่วนที่ต้องรับน้ำหนัก และแกะสลักลวดลาย
แผนผังประกอบด้วย
ปราสาทประธาน ๑ หลัง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัย ๑ หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีกำแพงแก้วก่อล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก ซึ่งตรงกับด้านหน้าของปราสาทประธาน เจาะเป็นห้องรูปกากบาทเป็นซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่าโคปุระ และมีลานทางเดินหินทรายเชื่อมจากหน้าปราสาทประธานถึงโคปุระ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ผลการค้นหา คำค้น " กู่ "
2. ผลการค้นหา คำค้น " ปราสาท "
3. ผลการค้นหา คำค้น " ร้อยเอ็ด "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น