วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

วนอุทยานพนมสวาย

วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย  หรือ  เขาสวาย  ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ " พนมสวาย " เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ " พนม " แปลว่า " ภูเขา " ส่วนคำว่า " สวาย " แปลว่า " มะม่วง " ในหมู่พนมสวายประกอบด้วยภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ " พนมกรอล " แปลว่า " เขาคอก " มีความสูงประมาณ 150 เมตร " พนมเปร๊า " แปลว่า " เขาชาย " มีความสูงประมาณ 220 เมตร " พนมสรัย " แปลว่า " เขาหญิง " มีความสูงประมาณ 210 เมตร รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริง คือ พนมสวาย ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่างๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย เขาพนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆ บนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 50 กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ 50 กิโลเมตร (สามารถมองเห็นพนมรุ้ง และเขากระโดงได้ที่ด้านหลังพระพุทธสุรินทร์มงคล จนเห็นเทือกเขาพนมดงรัก และ เขาพระวิหาร) และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 22 กิโลเมตร



พืชพรรณ 

เนื่องจากพื้นที่พนมสวายส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง ผิวหน้าดินตื้น ชั้นล่างเป็นดินลูกรัง และหิน จึงประกอบไปด้วยป่าเต็งรัง ไม้ที่ขึ้นอยู่เป็นไม้เล็ก ยกเว้นบริเวณหุบเขาระหว่างเขาชาย เขาหญิง และเขาคอก จะเป็นไม้ค่อนข้างใหญ่ ได้แก่ ไม้มะค่าโมง ไม้แดง ไม้เหียง ไม้พยุง ไม้เต็ง ไม้พลวง ไม้รกฟ้า ฯลฯ นอกจากนี้ช่วงเดือน กุมพาพันธ์ - เมษยนของทุกปี ต้นหมากหม้อ หรือภาษาเขมรเรียกว่า " ต้นอั๊ดจรู๊ด " จะออกดอกบานสะพรั่งไปทั่วป่าธรรมชาติในบริเวณหมู่พนมสวาย




สัตว์ป่า

สัตว์ป่าที่พบเห็นบ่อยคือ กิ้งก่า ตุ๊กแก กระรอก กระแต ฯลฯ นกชนิดต่างๆ เช่น นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกกระจิบธรรมดา นกเอี้ยง นกเป็ดน้ำ และนกเหยี่ยว นอกจากนั้น ยังมีสัตว์ป่า ที่พบเห็นไม่บ่อยครั้งนัก ได้แก่ กระต่ายป่าต่างๆ ไก่ป่า งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า เป็นต้น



การเดินทาง

การเดินทางมาพนมสวาย จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สะดวกมาก โดยไปทางรถยนต์ สายสุรินทร์ - ปราสาท ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงบ้านกะน็อบ แยกไปตามเส้นทาง รพช. สายบ้านกะน็อบ - บ้านสวาย ระยะทาง 6 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเมืองมาถึงวนอุทยานพนมสวาย ประมาณ 20 กิโลเมตร ถนนขึ้นเขาสวายนั้นเป็นถนนลาดยาง 2 เลน กว้าง 5 เมตร



สถานที่น่าชม

- พระพุทธสุรินทรมงคล (นามพระราชทาน) ยอดเขาพนมเปร๊าะ
- สถูปอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) ข้างลานจอดรถ
- ศาลาอัฏฐะมุข - รอยพระพุทธบาทจำลอง ยอดพนมกรอล
- เจดีย์บรรจุอัฐิพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมัน (จรัณย์) คนที่ 8
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม (สร้างขึ้นโดยร้อยเอกสละ สุขเกษม เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บิดา - มารดาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548)
- รอยเท้าหลวงตาพรม (เป็นปรากฏการณ์ทางธรณี ไม่มีคำอธิบายชัดเจน ตามตำนานเล่าว่า หลวงตาพรหมเป็นคนโบราณที่มีรูปร่างใหญ่โตมาก ได้หาบหินมาถึงเขาสวาย ไม้คานเกิดหัก หินที่หาบมาก็หล่นมากองกันจนกลายเป็นเขาสวาย)
- บ่อขมิ้น (เป็นบ่อธรมชาติ กว้างประมาณ 1 เมตร ลึก 1 เมตร อดีตน้ำจะมีสีเหลืองทองคลายขมิ้นขังอยู่ กระทั่งมีผู้คนเดินทางไปชมบ่อขมิ้นจำนวนมาก บางคนได้โยนสิ่งของลงไป สีของน้ำที่เหมือนขมิ้นจึงจางหายไป)
- บันไดระฆังพันใบ
- บ่อสัมฤทธิ์
- บ่อสกัด
- ลานหินล้านปี
- น้ำตกโตงใหญ่
- น้ำตกผาดอกบัว
- ผาชมจันทร์
- ผาดอกบัว
- สระสวาย (บาราย)
- ปราสาทพนมสวาย
- เต่าหินศักสิทธิ์
- พระอุโบสถวัดพนมศิลาราม
- รูปปั้นพุทธประวัติ (บริเวณวัดพนมศิลาราม)
- จุดชมวิวผาหลังพระพุทธสุรินทรมงคล
- บันไดนาคขึ้นศาลาอัฐมุข
- ซุ้มประตูเข้าวนอุทยาน
- มณฑบหลวงปู่สวน
- แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา
- พระพุทธบรรพตอัมพวัน เขาหญิง (พนมสรัย)
- พิพิธภัณฑ์หินภูเขาไฟ
- พระพุทธมหาพนมสรัยวรวิทธิสงเคราะห์ ในพระอุโบสถวัดพนมศิลาราม



ปากปล่องภูเขาไฟ

ปากปล่องภูเขาไฟมีลักษณะ แปลก เป็นสระน้ำโค้งไปโค้งมาอยู่เชิงเขาพนมเปร๊าะ เป็นสระน้ำที่มีน้ำตลอดปี สามารถมองเห็นเมื่อขึ้นไป สักการะพระพุทธสุรินทรมงคล และมองมาทางเชิงเขาทางด้านขวามือหรือทิศไต้ จะเห็นสระน้ำ ที่อยู่กลางป่า ไม่ใช่สระใหญ่ที่อยู่ในหมู่บ้าน สถิติการระเบิดอยู่ที่ 52 ครั้ง



งานประเพณีสำคัญ

งานบุญประเพณีขึ้นพนมสวาย การบใหว้สิ่งศักสิทธิ์  (เลิงพนมสวาย)




Phanom Sawai Nation Forest

Phanom means mountain and Sawai means mango. Phanom Sawai, the closest forest to the province, is a small mountain covered with Mixed deciduous forest. Phanom Sawai war regarded as a pilgrimage site. On the 1st day of the waxing moon in April many people walk to the temple on the mountaintop to listen to the Buddhist doctrine and to make merit. In front of the forest Headquarters, there are a number of reservoirs and short trekking routes.

The first peak at the altitude of 210 meters, called Khao Chai or Phanom Pro, houses Wat Phanom Sawai. Phra Buddha Surinthara Mongkhon, the huge brick - and - concrete Buddha statue in the posture of giving blessing, can be seen from far away. The second peak at the altitude of 228 meters is called Khao Ying or Phanom Sarai.

On the third peak, called Khao Khok or Phanom Krol, the Buddhist Society of Surin constructed a pavilion with eight porticos on the occasion of Rattanakosin Bicentennial Celebration. The replica of Buddha’s Footprint was moved from Khao Chai to be enshrined in this pavilion. Also located on this peak is the pagoda in memory of Phra Rat Wutthachan (Luang Pu Dun Adulo), in which his statue is enshrined.















































































วัดพนมศิลาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์











ดู วนอุทยานพนมสวาย ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น