วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ซะปลา หน้าหนาวเข้าหน้าร้อน

" ซะปลา " เป็นภาษาอิสาน ความหมายคือ การวิดน้ำออกจากสระ หรือบ่อ เพื่อจับปลา


ส่วนใหญ่แล้ว บ่อ หรือสระน้ำ หรือแหล่งน้ำที่ชาวบ้านแถบอิสานสนมนิยมมีไว้สำหรับเลี้ยงปลา บ้างก็ขุดบ่อไว้่เพื่อการเกษตร ส่วนปลาที่ได้จากการซะปลานั้นมักเป็นปลาจากธรรมชาติ อาทิ ปลาหมอ (ปลาเข็ง) , ปลาช่อน (ปลาข่อ) , ปลาดุก (ปลาดุ๊ก) , ปลาไหล (เอี่ยน) , ปลาซิว , ปลาหลด ปลาหลาด (ไม่ค่อยมีให้พบเห็น) , ปลากระดี่ (ปลากะเดิด) และอื่นๆ


แหล่งน้ำตามที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่จะมีความลึกประมาณ 2-3 เมตร พอถึงปลายฤดูหนาวย่างเข้าฤดูร้อน (ธันวาคม - เมษายน) น้ำจะลดลงเหลือในปริมาณน้อย (น้ำลด อิสานเีรียก น้ำบก) จึงมีการซะปลาเกิดขึ้นในช่วงนี้


ทว่าน้ำลดลงพอที่จะซะปลาได้ในช่วงเทศกาลต่างๆ ก็จะซะปลากันเลย เพื่อต้อนรับญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกล ที่ได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมญาติพี่น้องที่อีสานสนม เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นในมวลหมู่ญาติ จึงอาศัยอีกหนึ่งกิจกรรม "ซะปลา" เพื่อก่อให้เกิดความกลมเกลียวทุกเมื่อเชื่อวันมิเปลี่ยนแปลงในเทศกาลที่จะถึงในช่วงนี้ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ , เทศกาลตรุษจีน , ปีใหม่ไทย , เทศกาลสงกรานต์ หรืองานมงคลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (อ้างอิง : 18 ม.ค. 2554)


................................................................................
ไปไหน..!!! 
อ๋อ...ไปซะปลา...
เอ้า..!! พวกเฮาไป... พวกเฮาไปซะปลากันเด้อ...
................................................................................





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น