วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานสืบสานประเพณี วิถีคนโนนนารายณ์ (บุญบั้งไฟ) ประจำปี 2556

งานสืบสานประเพณี วิถีคนโนนนารายณ์ ประจำปี 2556   ( ประเพณีบุญบั้งไฟโนนนารายณ์ )  ระหว่างวันที่ 14 - 15 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอโนนนารายณ์

ไหว้เจ้าแม่  แห่บุญบั้งไฟ  ดอกขะยอมหอมหลาย  โนนนารายณ์บ้านเฮา

"...ดินแดนเจ้าแม่โนนนารายณ์ ระบือไกลข้าวสารหอมมะลิ ปลื้มปิติการทำเกษตรอินทรีย์ มีทับหลังบ้านขุมดิน ท้องถิ่นงานบุญบั้งไฟ ประทับใจซิ่นไหม สุ่ม เปล มนต์เสน่ห์เมืองโนนนารายณ์..."




ชมการแข่งขันการจุดบั้งไฟโบราณ ซึ่งแปลก และไม่เหมือนบุญบั้งไฟทั่วไป นั่นคือ บั้งไฟโบราณจะมีการจุดชนวนบั้งไฟที่ส่วนหัวของบั้งไฟ ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า " บั้งไฟจุดหัว "   ส่วนบั้งไฟทั่วไปนั้นเป็นการจุดชนวนบั้งไฟที่ด้านท้ายส่วนล่างของบั้งไฟ ซึ่งบั้งไฟโบราณมีขนาดไม่ใหญ่มาก เทียบได้ใกล้เคียงกับบั้งไฟหมื่นทั่วไป จากการสังเกตโดยทั่วไปแล้วพบว่า บั้งไฟหมื่นตามงานบุญบั้งไฟทั่วไปที่มีการจุดชนวนที่ท้ายของบั้งไฟนั้น ส่วนใหญ่แล้ว บั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าในแนวตรง ส่วนบั้งไฟโบราณจุดหัวนั้น เป็นบั้งไฟที่คาดเดาทิศทางได้ค่อนข้างยากมาก ว่าบั้งไฟที่จุดนั้น เมื่อขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้ว จะขึ้นในแนวตรงหรือไม่ บางบั้งขึ้นตรงแต่ไปเลี้ยวโค้งกลางอากาศเอาตอนจบก็มีไม่น้อย ส่วนบั้งที่ขึ้นท้องฟ้าไปแล้ว มีลักษณะม้วนหางกลางอากาศตั้งแต่ปล่อยออกจากฐานจุด แล้วขึ้นตรงต่อไปอีกก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง ซึ่งลักษณะการขึ้นฟ้าของบั้งไฟโบราณนั้นทำให้คาดเดาทิศทางได้ยากมาก ดั้งนั้นบั้งไฟโบราณจึงสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก และเป็นตัวชีวัดถึงระดับฝีมือของผู้ทำบั้งไฟโบราณว่าแจ๋ว เจ๋ง ขั้นไหนแล้ว โดยมีช่วงระยะเวลากลางเวหาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ช่วงเวลา 100 - 200 วินาที  ซึ่งบั้งไฟโบราณส่วนใหญ่ที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า เมื่อตกลงมายังพื้นดิน พบว่ามีรัศมีโดยเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 500 เมตร จากฐานจุดบั้งไฟ ซึ่งมีความเสี่ยง และอันตรายน้อยกว่างานบุญบั้งไฟทั่วไปหลายเท่านัก อีกทั้งเป็นงานประเพณีซึ่งคงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวโนนนารายณ์ได้เป็นอย่างดีที่ควรค่าแก่การมาชมยิ่ง อีกทั้งขบวนแห่บุญบั้งไฟที่มีความสวยงามไม่น้อยไปกว่าเมืองบั้งไฟโก้ถิ่นใดเลย... โช๊ะ ๆ ๆ ฟันธง !!! :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น