นางปริญญา สุขใหญ่ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ เปิดเผยว่า ตนได้รับการประสานจากชาวบ้านให้เข้ามาตรวจสอบวัตถุโบราณดังกล่าว พบว่า... พระพุทธรูปนาคปรก และเครื่องรางเทพอื่นๆ สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อายุเกือบ 200 ปี มีลักษณะสวยงามสมบูรณ์มาก ส่วนเครื่องปั้นดินเผาน่าจะสร้างในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุระหว่าง 1,500 - 2,000 ปี อย่างไรก็ตาม จะได้มีการนำไปในกรมศิลปากรตรวจพิสูจน์เพื่อหาอายุที่แน่นอนต่อไป ในเบื้องต้น ได้ขอความร่วมมือให้ชาวบ้านหยุดการขุดค้นก่อน จนกว่ากรมศิลปากรจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาขุดค้นอย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้วัตถุโบราณดังกล่าว ได้ให้ผู้ใหญ่บ้านจัดเวรยามมาดูแลรักษาไว้ก่อน ระหว่างการประสานกับกรมศิลปากร
ด้านนายสุทิน แผ่นงา ผู้ใหญ่บ้านจารพัต เปิดเผยว่า ก่อนหน้าการขุดค้นของชาวบ้าน บริเวณดังกล่าวเป็นถนนคอนกรีต ซึ่งพบว่าถนนคอนกรีตแตกร้าว และถูกดินดันสูงขึ้นมาเป็นเนินดินเสียหายเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ชาวบ้านต่างสงสัยกันว่า น่าจะมีอะไรอยู่ใต้พื้นถนน จึงทำพิธีเข้าทรงดู และร่างทรงก็ได้บอกว่า... มีพระเครื่อง และวัตถุโบราณอยู่ด้านล่างจำนวนมาก ร่างทรง และชาวบ้านจึงพากันขุดค้นดู เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เรื่องดังกล่าวตนเชื่อว่าเป็นสิริมงคลกับหมู่บ้าน (เดลินิวส์ออนไลน์, 6 ส.ค. 54)
ภาพบน : ทางแยกแข้าหมู่บ้านจารพัต ห่างจากตัวอำเภอเมืองศีขรภูมิ 4 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านจารพัต อีก 8 กิโลเมตร
ภาพล่าง : เส้นทางมุ่งหน้าสู่บ้านจารพัต แหล่งค้นพบวัตถุโบราณ
ภาพบน และล่าง : หมู่บ้านจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ภาพบน : ประชาชนชาวอำเภอสนม ให้ความสนใจกับวัตถุโบราณที่ถูกค้นพบ
ภาพบน : เศษผ้าไหมโบราณ
ภาพบน และล่าง : ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านจารพัต ร่วมศาสนพิธีก่อนทำการขุดค้นหาวัตถุโบราณ
ภาพบน : ศาลหลักเมืองจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ภาพบน และล่าง : วัตถุโบราณที่พบ
ภาพบน และล่าง : หลุม แสดงถึงแหล่งที่ขุดค้นพบ วัตถุโบราณ
ประวัติ และความเป็นมา ของหมู่บ้านจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ประวัติศาสตร์ เมืองจารพัต
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยก็เริ่มมีอำนาจและเข้าครอบครองดินแดนเหล่านี้ และได้มีการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุรินทร์ และในสมัยที่ขอมหมดอำนาจลงนั้น จังหวัดสุรินทร์คงมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน เหมือนหนึ่งเป็นดินแดนหลงสำรวจ เพราะแม้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นหรือตอนกลาง ก็มิได้มีการบันทึกกล่าวถึงเมืองสุรินทร์แต่อย่างใด เพิ่งจะได้มีการรู้จักเมืองสุรินทร์นสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาในระยะเริ่มแรกของการตั้งเมือง ซึ่งปรากฎตามหลักฐานพงศวดารเมืองสุรินทร์ ดังต่อไปนี้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ส่วย” “กวย”หรือ “กุย” ที่อาศัยในแถบเมืองอัตปีแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ หรือ ร.ศ.๑๑๒)
พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ไช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้อพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา เมื่อ พ.ศ.๒๒๖๐ โดยแยกกันหลายพวกด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา และมาตั้งหลักฐาน ดังนี้
พวกที่ ๑ มาตั้งหลักฐานที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ “เชียงปุม”
พวกที่ ๒ มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดหวาย หรือเมืองเตา (อำเภอรัตนบุรีปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ “เชียงสี” หรือ “ตากะอาม”
พวกที่ ๓ มาตั้งหลักฐานทีค่บ้านเมืองลิ่ง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ “เชียงสง”
พวกที่ ๔ มาตั้งหลักฐานที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อ “ตากะจะ” และ “เชียงขัน”
พวกที่ ๕ มาตั้งหลักฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ (เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อ “เชียงฆะ”
พวกที่ ๖ มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อ “เชียงไชย”
ลุ พ.ศ.๒๓๐๒ ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ครองกรุงศรีอยุธยาราชธานี ช้างเผือกแตกโรงออกจากเมืองหลวงเข้าป่าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามารินทร์ โปรดให้สองพี่น้องเป็นหัวหน้ากับไพร่พล ๓๐ นายออกติดตาม เมื่อสองพี่น้องกับไพร่พลติดตามมาถึงเมืองพิมายทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขามีพวกส่วยซึ่งชำนาญในการจับช้างและเลี้ยงช้างอยู่ หากไปสืบหาจากพวกส่วยเหล่านี้คงจะทราบเรื่อง สองพี่น้องกับไพร่พลไปหาเชียงสงที่บ้านเมืองลิ่ง ไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที ไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน และไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง
เชียงฆะได้เล่าบอกกับสองพี่น้องว่า ได้เคยเห็นช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาทั้งสองข้าง ได้พาโขลงช้างป่ามาลงเล่นน้ำที่หนองโชกตอนบ่ายๆทุกวัน เมื่อได้ทราบเช่นนั้นสองพี่น้องจึงได้พาหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านั้นไปขึ้นต้นไม้ริมหนองโชกคอยดู ครั้นถึงตอนบ่ายก็เห็นโขลงช้างป่าประมาณ ๕๐-๖๐ เชือก เดินห้อมล้อมช้างเผือกออกมาจากป่าลงเล่นน้ำในหนอง สมจริงดังที่เชียงฆะบอกกล่าว สองพี่น้องจึงใช้พิธีกรรมทางคชศาสตร์จับช้างเผือกได้แล้ว สองพี่น้องกับไพร่พลโดยมีหัวหน้าบ้านป่าดง คือเชียงปุม เชียงสี หรือตะกะอาม เชียงฆะ เชียงไชย ตากะจะ และเชียงขัน ได้ร่วมเดินทางไปส่งด้วย สองพี่น้องได้กราบทูลถึงการที่เชียงปุมกับพวกได้ช่วยเหลือติดตามช้างเผือกได้คืนมาและนำมาส่งถึงกรุงศรีอยุธยาด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
๑. เชียงปุม หัวหน้าหมู่บ้านเมืองที เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี
๒. ตากะจะ หัวหน้าหมู่บ้านโคกลำดวน เป็นหลวงแก้วสุวรรณ
๓. เชียงขัน อยู่รวมกันกับตากะจะ เป็นหลวงปราบ
๔. เชียงฆะ หัวหน้าหมู่บ้านอัจจะปะนึง เป็นหลวงเพชร
๕. เชียงสี หัวหน้าหมุ่บ้านกุดหวาย เป็นหลวงศรีนครเตา
๖. เชียงไชย หัวหน้าหมู่บ้านกุดปะไท เป็นขุนไชยสุริยงศ์
พร้อมทั้งพระราชทานตราตั้งและโปรดเกล้าฯ ให้ปกครองหมู่บ้านเดิมขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
หลวงสุรินทรภักดีกับพวก ได้พากันเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและได้ปกครองหมู่บ้านเดิมตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตลอดมา
พ.ศ.๒๓๐๖ หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาติย้ายจากหมู่บ้านเมืองทีไปตั้งอยู่ที่บ้านคูปะทายหรือบ้านปะทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน)
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูปะทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง ๕ จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำสิ่งของไปทูลเกล้าฯถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
๑. หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูปะทายเป็น “เมืองปะทายสมันต์” ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางเป็นเจ้าเมืองปกครอง
๒. หลวงเพชร(เชียงฆะ)เป็น พระสังฆบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น “เมืองสังฆะ” ให้พระสังฆบุรีศรีนครอัจจะเป็นเจ้าเมืองปกครอง
๓. หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือกะตะอาม) เป็นพระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวายเป็น “เมืองรัตนบุรี” ให้พระศรีนครเตาเป็นเจ้าเมืองปกครอง
๔. หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็น “เมืองขุขันธ์” ให้พระยาภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองปกครอง
การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
พ.ศ.๒๓๒๔ เมืองเขมรเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปปราบปรามการจราจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงด้วย การไปปราบปรามครั้งนี้กองทัพไทยเคลื่อนขบวนไปตีเมืองเสียมราฐ เมืองกำพงสวาย เมืองบรรทายเพชร เมืองบรรทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ (ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ขอขึ้นเป็นข้าขอบขันฑสีมา เสร็จแล้วก็ยกทัพกลับกรุงธนบุรี บ้านเมืองทีตีได้ก็กวาดต้อนพลเมืองมาบ้าง บางพวกก็อพยพมาเอง ในโอกาสนี้ได้มีลาวบราย เขมร ทางแขวงเมืองเสียมราฐ สะโตง กำพงสวาย บรรทายเพชร อพยพมาทางเมืองสุรินทร์ ออกญาแอกและนางรอง พาบ่าวไพร่ขึ้นมาอยู่ที่บ้านนนางรอง ออกญารินทร์เสน่หาจางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางสาวดาม มาดไว บุตรีเจ้าเมืองบรรทายเพชร และพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐได้พากันมาอยู่เมืองปะทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) เป็นจำนวนมาก บ้างก็แยกไปอยู่เมืองสังฆะ ไปอยู่บ้านกำพงสวาย (แขวงอำเภอท่าตูม)
พ.ศ. ๒๓๒๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อยนพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ เป็น พระยาสุรินทรภักดีไผทสมันต์
พ.ศ. ๒๓๗๒ ครั้งนั้นหัวเมืองทางฝ่ายตะวันออกยังไม่เรียบร้อยดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ครั้งที่เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ออกไปจัดตั้งราชการทำสำมะโนครัวและตั้งกองสักอยู่ ณ กุดไผท (ซึ่งเป็นท้องที่อำเภอศีขรภูมิปัจจุบันนี้)
กำเนิดหัวเมือง มณฑลอีสาน
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก บ้านกุดประไทยหรือบ้านจารพัต ขึ้นเป็น เมืองสีขรภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศีขรภูมิมานุรักษ์
ยก บ้านโส้งใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองสุวรรณคิรี เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านบึงจวง ขึ้นเป็น เมืองวาปีไพรบูรณ์ เจ้าเมืองที่ พระพิศาลสุรเดช
ยก บ้านลำดวน ขึ้นเป็น เมืองสุรพินทนิคม เจ้าเมืองที่ พระสุรพินทนิคมานุรักษ์
ยก บ้านแก่งไม้เฮียะ ขึ้นเป็น เมืองมธุรศาผล เจ้าเมืองที่ พระจันทร์ศรีสุราช
ยก บ้านท่าคาหรือบ้านทุ่งบัวสีศิริจำปัง (เก่า) ขึ้นเป็น เมืองอุทุมธารา เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านลำพุก ขึ้นเป็น เมืองกันทรารมย์ เจ้าเมืองที่ พระกันทรานุรักษ์
ยก บ้านดอนเสาโรง ขึ้นเป็น เมืองเกษตรวิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีเกษตราธิไชย
ยก บ้านโป่ง ขึ้นเป็น เมืองพนมไพรแดนมฤก เจ้าเมืองที่ พระดำรงฤทธิไกร
ยก บ้านห้วยหินห้วยโก ขึ้นเป็น เมืองสพังภูผา เจ้าเมืองที่ พระราชฤทธิบริรักษ์
ยก บ้านเมืองเสือ ขึ้นเป็น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีสุวรรณวงศา
ยก บ้านบึงโดน ขึ้นเป็น เมืองเสลภูมินิคม เจ้าเมืองที่ พระนิคมบริรักษ์
ยก บ้านท่ายักขุ ขึ้นเป็น เมืองชาณุมานมณฑล เจ้าเมืองที่ พระผจญจัตุรงค์
ยก บ้านเผลา ขึ้นเป็น เมืองพนานิคม เจ้าเมืองที่ พระจันทรวงศา
ยก บ้านกอนจอ ขึ้นเป็น เมืองวารินชำราบ เจ้าเมืองที่ พระกำจรจตุรงค์
ยก บ้านเสาธง ขึ้นเป็น เมืองธวัชบุรี เจ้าเมืองที่ พระธำนงไชยธวัช
ยก บ้านจาร ขึ้นเป็น เมืองมูลปาโมกข์ เจ้าเมืองที่ พระวงศาสุรเดช
ยก บ้านจันลานาโดม ขึ้นเป็น เมืองโดมประดิษฐ์ เจ้าเมืองที่ พระดำรงสุริยเดช
ยก บ้านน้ำคำแก่งเสร็จ ขึ้นเป็น เมืองสูตวารี
ยก บ้านโนนหินกอง ขึ้นเป็น เมืองราศีไสล เจ้าเมืองที่ พระผจญปัจนึก
ยก บ้านที ขึ้นเป็นเมืองเกษมสีมา เจ้าเมืองที่ พระพิชัยชาญณรงค์
ยก บ้านทัพค่าย ขึ้นเป็น เมืองชุมพลบุรี เจ้าเมืองที่ พระฤทธิรณยุทธ
ยก บ้านหงส์ ขึ้นเป็น เมืองจัตุรพักตร์พิมาน เจ้าเมืองที่ พระธาดาอำนวย
ยก บ้านนาเลา ขึ้นเป็น เมืองวาปีปทุม เจ้าเมืองที่ พระพิทักษ์นรากร
ยก บ้านวังทาหอขวาง ขึ้นเป็น เมืองโกสุมพิสัย เจ้าเมืองที่ พระสุนทรพิพิธ
ยก บ้านเวินฆ้อง (เซลำเภา (เก่า) ) ขึ้นเป็น เมืองธาราบริรักษ์ เจ้าเมืองที่ พระภักดีศรีสิทธิสงคราม
เมือง กันทรวิชัย เจ้าเมืองที่ พระปทุมวิเศษ
เมืองสุรินทร์ช่วงกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มมีความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง เริ่มรับรูปแบบการแต่งตั้งเจ้าเมืองและมีพันธะกับเมืองหลวง เช่น การยกกองทัพเพื่อไปช่วยเมืองหลวงขยายอาณาเขต เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เมืองเขมร มีการสำรวจสำมะโนครัวเพื่อสำรวจไพร่พลเก็บส่วยส่งเมืองหลวง อันเป็นที่มาของคำว่า “ส่วย” เริ่มมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง มีระเบียบพิธีการ ลูกหลานเจ้าเมืองเริ่มมีความสัมพันธ์กับเมืองที่คอยดูแลอย่างหลวมๆ
กรณีเมืองศีขรภูมิ “หลวงไชยสุริยง” นายกองนอก ตั้งอยู่ที่ค่ายจารพัต (เมืองศีขรภูมิในปัจจุบัน) ไม่มีแม่ทัพปกครอง ทางเมืองหลวงได้ส่ง “ขุนอินทร์” (ปิ่น) มาเป็นแม่ทัพฝ่ายบ้านจารพัต และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงไชยสุริยง” และแต่งตั้งนายเกษ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงแก้วมนตรี” ผู้ช่วยคลังสังขะ กระทั่งเมืองศรีขรภูมิขึ้นกับเมืองสังขะ และตั้งเป็นเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองศีขรภูมิพิไสยมี “พระศีขรภูมิมานุรักษ์” (ปิ่น วรางกูร) เป็นเจ้าเมือง ต่อมาเรียกว่า “เมืองศีขรภูมิพิสัย”ปัจจุบันเหลือเพียง “ศีขรภูมิ” (อำเภอศีขรภูมิในปัจจุบัน)
เมืองสุรินทร์เริ่มมีบทบาทสร้างความมั่งคั่งในการควบคุมชุมชนชาวเขมร เพราะได้เกลี้ยกล่อมให้ชาวเขมรเข้ามาตั้งชุมชนในแถบเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองบุรีรัมย์ เมืองขุขันธ์ ทำให้เมืองสุรินทร์ยกฐานะไปสู่เมืองชั้นเอก เจ้าเมืองได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระยา” เพียงเมืองเดียวในแถบหัวเมืองเขมรป่าดง
เมืองสุรินทร์สมัยธนบุรี
เมืองกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๘ “พญาโพธิสาร” จากนครจำปาศักดิ์ออกกวาดต้อนครัวบ้านผู้คนจากเมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราศีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) จนกระทั่งเมืองทั้ง ๓ กลายเป็นเมืองร้าง ส่วนเมืองศรีนครลำดวน
ภาพบน : นายสุทิน แผ่นงา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านจารพัต
ถ่ายเมื่อ : 31 ส.ค. 54, ศาลหลักเมืองจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ภาพบน และล่าง : วัดสิริสดอชัย บ้านจารพัต ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ภาพบน และล่าง : กระจับ จำหน่ายอยู่ริมถนนสองข้างทาง เส้นทาง ศีขรภูมิ - สุรินทร์ และ ศีขรภูมิ - รัตนบุรี จำหน่ายในราคา ถุงละ 20 บาท แต่ละถุงมี 15 กระจับ ราคาพิเศษ 3 ถุง 50 บาท