วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปราสาทตาเมือน


จากประวัติเดิม  ปราสาทตาเมือนธม  ( คำว่า ตา เมือนธม  เป็นภาษาเขมรแปลว่า ตาไก่ใหญ่ )  ปราสาทหินทรายโบราณขนาดใหญ่ที่สุด ในกลุ่ม  ปราสาทตาเมือน โบราณสถานแบบขอม 3 หลัง อันประกอบไปด้วย ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม  ปราสาททั้งสามตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน บนแนวภูเขาบรรทัด ใน ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ติดชายแดนกัมพูชา ห่างเพียง 100 เมตรเท่านั้น โดยตัวปราสาทตาเมือนธม สร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสวยัมภูลึงค์ หรือลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และนี่เองที่เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนาสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ภายหลังได้ถูกใช้เป็นพุทธสถาน นักโบราณคดีกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน



ปราสาทตาเมือนธม


ตัวปราสาทตาเมือนธมจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ เช่น ปราสาทพระวิหาร ซึ่งห่างจากด้านหน้าของปราสาทนี้ออกไปในเขตกัมพูชาจะมีสระน้ำ มีถนนตัดผ่านมาจากเมืองพระนครของเมืองเสียมราษฎร์ โดยถนนเส้นนี้ได้มีการกล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ ในเมืองพระนครว่า ได้ถูกตัดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763) เพื่อเชื่อมระหว่างเมืองพระนครกับเมืองพิมาย ตัดผ่านมาถึงสระน้ำของปราสาทหลังนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญพอสมควร

อีกนัยหนึ่ง ปราสาทตาเมือนธม อยู่ห่างจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 ไปทางตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร แม้จะไม่โด่งดังเท่าปราสาทนครวัด หรือ ปราสาทพระวิหาร แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมอันน่ามหัศจรรย์ของอาณาจักรขอมโบราณ ปราสาทตาเมือนธม ถูกสร้างเป็นพระตำหนักพักผ่อนของกษัตริย์ขอม ในยุคโบราณตั้งอยู่ริมถนน โบราณที่เชื่อมระหว่างเมืองที่ตั้งปราสาทนครวัดกับดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยอ้างว่าปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน

สิ่งสำคัญ "ปราสาทตาเมือนธม" นั้น ในอดีตสถานที่แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าเป็น    ที่พักคนเดินทาง หรือที่เรียกกันว่า "ธรรมศาลา-บ้านมีไฟ" แห่งหนึ่งใน 121 แห่ง      ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนคร โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย จึงถือว่าเป็นปราสาทหินที่เชื่อมโยงเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณระหว่างปราสาทนครวัด-นครธม ประเทศกัมพูชา กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา




ปราสาทตาเมือนโต๊ด

นอกจากนี้ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน ยังเป็น อโรคยศาลา (โรงพยาบาลในสมัยนั้น) หลังสุดท้ายในเขตประเทศไทย ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็น 1 ใน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างเพื่อช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ ดังข้อความในจารึกของพระองค์ที่พบในประเทศ ไทยหลักหนึ่งระบุว่า...ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ในพระองค์...

กรมศิลปากรสำรวจพบ และขึ้นบัญชีปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในเขตไทยเป็นโบราณสถานของไทยตั้งแต่ปี 2478 หรือเมื่อ 73 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะโดยทางการกัมพูชารับรู้มาตลอด



















ปราสาทตาเมือน


Prasat Ta Muean

Despite  the  easy  access  to  the  group  of  Prasat  Ta  Muean,  its  adjacency  to  the  Thai - Cambodian  border  makes  it  advisable  for  all  visitors  to  inform  their  presence  to  the  military  or  border  patrol  police  posted  along  the  way.    

It is  suggested  that  visitors  should  visit  the  innermost  Prasat  Ta  Muean  Thom  first,  before  coming  back  to  the  nearer  Prasat  Ta  Muean  Tot  and  Prasat  Ta  Muean.

Locally  called  Prasat  Bai  Khrim,  This  edifice  is  supposed  to  be  1  of  the  17  rest  stops  for  the  pilgrims,  constructed  by  the  command  of  King  Chaiyaworaman  VII  along  the  capital  of  the  Khmer  Empire.  To  Phimai.

This  laterite  solitary  tower  faces  East.  An  elongated  room  adjoins  the  front  of  the  tower.  Fake  windows  were  sculpted  on  the  northern  wall,  while  real  windows  exist  only  on  the southern  one. The  remaining  southern  lintel  depicts  the  Buddha  in  the  posture  of  meditation.










Lintel at Prasat Ta Muean





























ปราสาทตาเมือนโต๊ด


Prasat Ta Muean Tot

Tot  is  Cambodian  means  small.  This  small  “hospital” is  in  almost  perfect  condition.  The  square  principal  tower,  constructed  with  laterite  and  sandstones,  has  an  adjunct  porch  in  the  front,  surrounded  with  laterite  wall.  The  only  one  gopura  faces  East,  and  a  pond  exists  in  front  of  the  wall  This  Prasat  was  constructed  in  the  reign  of  King  Chaiyaworaman  VII.  In  the 12 th  century.
























































ปราสาทตาเมือนธม


Prasat Ta Muean Thom

As  Thom  means  big,  Prasat Ta  Muean  Tom  is  the  biggest  one  in  this  group  of  edifices.  Located  on  the  Phanom  Dong  Rak  Range,  this  ruin  lies  on  the  route  linking  the  Angkor  Wat  and  Angkor  Thom  to  Prasat  Hin  Phimai.  It  is  now  hidden  amidst  lush  forest,  the  southern  part  of  which  is  right  on  the  Cambodian  border.

The  compound  has  3 towers,  The  principal  one  in  the  central  and  the  smaller  one  on  its  left  and  right,  made  from  pink  sandstones.

Two  laterite  wihan  exist  on  the  East  and  West.  The  compound  is  surrounded  by  sandstone  cloister.  Of  the  four  gopuras,  entrance  pavilions,  the  southern  one  is  the  biggest  and  links  to  the  balustrade  that  drops  off  to  the  slope  in  Cambodia.

A  pond  lies  on  the  north  outside  the  cloister.  A  Khmer  inscription  on  the  southeastern  cloister  refers  to  a  person  named  Phra  Kalapa  Krisna

This  ruin  was  presumably  dedicated  to  Hindu  God  Shiva,  constructed  in  the  11 th century  before  the  other  2  ruins  in  this  group.

No  man - made  lingum  is  found  here.  A  big  rock,  representing  lingum,  is  found  in  the    principal  tower,  similar  to  the  one  found  at  Yot  Phu  Kao  in  Champasak  in  southern  Laos.








Inside Prasat Ta Muean Thom















































ข้อมูลทั่วไป ตำบลตาเมียง

ประวัติความเป็นมา :
บรรพบุรุษเป็นชายไทยเขมร ได้อพยพมาจากโคกทม (ปัจจุบันเป็นสนามกีฬาประจำตำบลตาเมียง) มาทำการหักร้างถางพงและตั้งเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า "บ้านตาเมียง" ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาล และเหตุที่ชื่อว่า "บ้านตาเมียง"   ก็เพราะว่าตั้งตามชื่อหมู่บ้านที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ตำบลตาเมียง ประกอบไปด้วย 13 หมู่บ้าน

สภาพทั่วไปของตำบล :
ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่เป็นป่าสงวน ทิศใต้ของตำบลเป็นเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่มีความลาดเอียง สภาพพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ทั้งหมด 68 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ จดบ้านละเอาะ ต.จีกแดกและบ้านสระแก้ว ต.โคกกลาง
ทิศใต้ จดสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา
ทิศตะวันออก จดบ้านรุน ต.บักได กิ่ง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
ทิศตะวันตก จดบ้านโคกกระชาย ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,806 คน ชาย 4,417 คน หญิง 4,389 คน

ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป, เลี้ยงสัตว์

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล :  
จากสุรินทร์สามารถใช้เส้นทางสายสุรินทร์-ปราสาท และจากปราสาทให้ใช้เส้นทางถนนหินโคน-บ้านกรวด (หรือ ปราสาท-ตาเมืยน) หรือโดยสารทางรถประจำทางจากสุรินทร์-ปราสาท-บ้านตาเมียง ในเส้นทางไปบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค :
ไฟฟ้า และประปา มีใช้ทุกหมู่บ้าน โทรศัพท์ มีทั้งหมด 7 แห่ง แต่ยังไม่ครบทั้งหมดหมู่บ้าน

ประธาน อบต.  นายวิหาร   เพชรประกอบ
นายก อบต.  นายทองใบ   กิจเกียร



ดู กลุ่มปราสาทตาเมือน ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า



ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
1. ปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
2. ผลการค้นหา คำค้น " ปราสาท "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น